Page 27 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 27

15



                              6) การสานเสวนา (Dialogue) คือ กระบวนการสื่อความหมาย และเรียนรู้เพื่อเข้าใจตนเอง
                       และผู้อื่น สานเสวนา เป็นการเปิดใจ พูดคุย และฟังกันและกันอย่างลึกซึ้ง ด้วยเมตตา ไม่ใช่การ

                       โต้เถียง หักล้างหรือเอาชนะ ขณะเดียวกัน สานเสวนาไม่ใช่การพูดคุยเพื่อโน้มน้าว กดดัน บังคับ หรือ

                       เปลี่ยนแปลงผู้ใด หากจะมีความเปลี่ยนแปลงย่อมต้องเกิดขึ้นในตัวคนนั้นเองตามธรรมชาติ สานเสวนาจึง
                       น้าไปสู่การลดความไม่เข้าใจ และแก้ไขความขัดแย้งด้วยสันติวิธี (สถาบันพระปกเกล้า, 2562) ขณะที่

                       บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ (2560) กล่าวว่า การสานเสวนานอกจากจะเป็นกระ

                       บวนการการท้าความเข้าใจซึ่งกันและกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย และสร้างสัมพันธภาพที่ดีของ
                       คู่ขัดแย้งทุกฝ่ายแล้ว ยังเป็นวิธีการจัดการความขัดแย้งหนึ่งที่สามารถช่วยเยียวยาบาดแผลในจิตใจ

                       ของผู้เข้าร่วมการสานเสวนาด้วย เพราะเมื่อผู้เข้าร่วมการสานเสวนาได้มีโอกาสพูดหรือบอกเล่า

                       ความรู้สึกที่มีในใจจึงเปรียบเสมือนได้แบ่งเบาความคิดความรู้สึกทุกข์ของตัวเองลงมาให้ผู้อื่นรับทราบ
                       ร่วมกัน โดยมีผู้เข้าร่วมสานเสวนาท่านอื่น ๆ รับฟัง และเสนอความเห็นและเยียวยาจิตใจกันและกัน

                              7) การไต่สวน (Inquiry) เป็นการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่มุ่งเน้นการจัดการข้อพิพาททั้งใน

                       ประเทศและระหว่างประเทศ ระบบการไต่สวนระหว่างประเทศเกิดขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง
                       ประเทศ ทั้งนี้หากไม่สามารถตกลงกันได้โดยทางการทูตอันเนื่องมาจากมีความเห็นขัดแย้งกันก็ให้

                       จัดตั้งคณะกรรมาธิการไต่สวนขึ้น เพื่ออ้านวยการศึกษาวิเคราะห์ปัญหาโดยหาข้อเท็จจริงอันแน่ชัด

                       ด้วยการสืบสวนที่ปราศจากความล้าเอียงและด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยอยู่ในวงจ้ากัดเฉพาะข้อเท็จจริง
                       เท่านั้น ไม่มีลักษณะชี้ขาด ไม่มีลักษณะบังคับ และไม่มีผลผูกพันให้รัฐคู่กรณียอมรับแต่อย่างใดแต่อาจ

                       มีประโยชน์ในการยุติปัญหาต่อไปได้ (รัฐพล เย็นใจมา และคณะ, 2561)

                              8) การไม่ให้ความร่วมมือ (Non-Cooperation) การไม่ให้ความร่วมมือหรือเพิกถอนความ
                       ร่วมมือเป็นปฏิบัติการที่ไร้ความรุนแรงโดยมีเจตนาที่จะหยุดยั้งหรือเพิกถอนความร่วมมือในรูปแบบ

                       หรือระดับที่เคยให้แก่บุคคล กิจกรรม สถาบันหรือระบอบปกครอง เพื่อแสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้ว

                       อ้านาจในการปกครองล้วนมีที่มาจากการยอมรับและสนับสนุนของประชาชน และเมื่อใดที่ประชาชน
                       พร้อมใจกันเพิกถอนความยินยอมนั้น บุคคล กิจกรรม สถาบัน กระทั่งระบอบปกครอง ย่อมไม่อาจ

                       ด้าเนินต่อไปได้ ปฏิบัติการที่ไร้ความรุนแรง ทั้งนี้ การไม่ให้ความร่วมมือสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มวิธี

                       ได้แก่ (1) การไม่ให้ความร่วมมือทางสังคม (2) การไม่ให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เช่น การคว่้าบาตร
                       ทางเศรษฐกิจ และการนัดหยุดงาน และ (3) การไม่ให้ความร่วมมือทางการเมือง (ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์,

                       2553; ชลัท ประเทืองรัตนา, 2557)

                              9) อารยะขัดขืน (Civil Disobedience) หรืออาจเรียกว่า “การใช้การชุมนุมประท้วงอย่างสันติ”
                       เป็นกระบวนการต่อสู้อย่างสันติ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิด “อหิงสา” (ahimsa) เพื่อให้ได้สิ่งที่

                       ต้องการโดยการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ การชุมนุมเพื่อแสดงความเห็นต่าง โดยต้นแบบของการชุมนุม
                       ประท้วงรูปแบบนี้คือ มหาตมคานธี ผู้เรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษสู่อินเดีย (สุวัฒ ดวงแสนพุด, 2555)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32