Page 33 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 33

21



                              4) ปัญหาคุณภาพน้้าบาดาล คุณภาพน้้าบาดาลโดยทั่วไปจะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ใช้บริโภค
                       ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีบางพื้นที่ที่มีปริมาณสารละลายในน้้าบาดาลสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานน้้าดื่ม เช่น

                       ในบางพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ ล้าพูน แพร่ ล้าปาง และกาญจนบุรี มีแร่เหล็กและฟลูออไรด์สูงกว่า

                       เกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งเป็นปัญหาที่มักเกิดขึ้นกับพื้นที่ที่มีความสัมพันธ์กับรอยเลื่อนและแหล่งน้้าพุร้อน
                       บางพื้นที่พบปัญหาการรุกล้้าของน้้าเค็มในชั้นน้้าบาดาล โดยจะเป็นพื้นที่ตามแนวปากแม่น้้าและ

                       ชายฝั่งทะเล เช่น พื้นที่แม่น้้าเจ้าพระยา และจังหวัดสงขลา ที่อาจจะมีสาเหตุจากการสูบน้้าบาดาล

                       ขึ้นมาใช้เกินสมดุลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางพื้นที่มีคุณภาพน้้าบาดาลกร่อย-เค็ม ไม่เหมาะกับ
                       การอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม เช่น จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์

                       เป็นต้น ในบางพื้นที่ของ จังหวัดนครศรีธรรมราช พบสารหนูที่อาจมีสาเหตุจากการปนเปื้อนตาม

                       ธรรมชาติของแร่ธาตุในชั้นหินให้น้้าและจากการท้าเหมืองแร่ดีบุก นอกจากนี้ บางพื้นที่ที่มีการลักลอบ
                       ทิ้งขยะพิษ น้้าเสีย ของเสียอาจถูกชะล้างลงไปปนเปื้อนในชั้นน้้าบาดาล

                            5) ปัญหาน้้าทะเลหนุน น้้าทะเลหนุน หมายถึง น้้าทะเลที่เคลื่อนไหวขึ้นหรือลงโดยธรรมชาติ

                       โดยมีช่วงที่น้้าทะเลหนุนสูงสุดระหว่างเดือนตุลาคมถึงธันวาคมของทุกปี (วิรัตน์ ท้าทอง, 2548) น้้า
                       ทะเลหนุนส่วนใหญ่แล้วจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ที่มีรอยต่อกับการขึ้นหรือลงของน้้าทะเลดังกล่าว

                       โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ปากแม่น้้าภาคกลางที่ติดทะเล เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และ

                       สมุทรสงคราม เป็นต้น โดยการหนุนของน้้าทะเลถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยส้าคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาน้้าท่วม
                       ในเขตพื้นที่ภาคกลางเพราะท้าให้มีปริมาณน้้าเพิ่มสูงขึ้น ขณะเดียวกันมวลน้้าจากทางเหนือย่อมไม่

                       สามารถไหลลงสู่ทะเลได้เนื่องจากน้้าทะเลที่หนุนสูงขึ้นมา โดยปัญหาน้้าทะเลหนุนเป็นสาเหตุน้้าท่วม

                       ที่ส้าคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาน้้าท่วมครั้งใหญ่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เช่น ปี พ.ศ. 2548 (วิรัตน์ ท้าทอง,
                       2548) และ ปี พ.ศ. 2554 (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2554) ขณะเดียวกัน นอกจากการหนุนของน้้า

                       ทะเลจะมีส่วนช่วยให้เกิดน้้าท่วมแล้ว ความเค็มจากน้้าทะเลหนุนยังสามารถแผ่กระจายและครอบคลุม

                       พื้นที่น้้าจืดเดิมได้ด้วยเช่นกันซึ่งมีผลให้น้้าใช้ (น้้าประปา หรือน้้าบาดาล) มีระดับความเค็มเพิ่มขึ้น


                              2.3.2 แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน  า 20 ปี: ถึงแม้ว่ารัฐบาลไทยได้ให้

                       ความส้าคัญในการบริหารจัดการน้้ามาโดยตลอดผ่านการจัดสรรงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาและ
                       จัดหาแหล่งน้้าเพิ่มเติม แต่ยังพบว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน ซึ่งอาจมีสาเหตุจากขาด

                       หน่วยงานกลางในการประสานงาน ก้ากับดูแล เพื่อให้เกิดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานอย่างแท้จริง

                       ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้้าของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในปี พ.ศ. 2558
                       จึงได้จัดท้าแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้้า ระยะเวลา 12 ปี (พ.ศ. 2558 - 2569)

                       แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้จัดท้า
                       ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ภายใต้ข้อก้าหนดของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38