Page 25 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 25
13
8) กล้าและสร้างสรรค์ ความรุนแรงมีแรงผลักดันมาจากความกลัว เช่น กลัวสูญเสียอ้านาจจึง
ต้องมีการใช้ความรุนแรงในการปกป้องอ้านาจของตนไว้ แต่การใช้สันติวิธีนั้นต้องขจัดความกลัว
ออกไปและจะต้องมีแรงผลักดันมาจากความกล้า คือ ต้องมีความกล้าเผชิญกับความจริง กล้าที่จะตั้ง
ค้าถาม กล้าคิดกล้าก้าจัดอคติ กล้าที่จะยอมสูญเสียผลประโยชน์บางสิ่งบางอย่างและกล้าที่จะพูดคุย
ส้าหรับแนวทางหรือรูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี โดยพื้นฐานที่ใช้กัน
อยู่นั้นมีหลากหลายรูปแบบ การเลือกใช้รูปแบบใดย่อมขึ้นอยู่กับสภาพความขัดแย้ง ความต้องการ
ของคู่กรณี ทรัพยากรที่มี สภาพแวดล้อม ฯลฯ ทั้งนี้ รูปแบบการจัดการความขัดแย้งตามแนวทางสันติวิธี
ที่ใช้ในปัจจุบัน สามารถรวบรวมและสรุปได้ดังแสดงในแผนภูมิที่ 2.1 ซึ่งได้แก่วิธีการต่าง ๆ ดังนี้
1) การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง (Mediation) เป็นหนึ่งในรูปแบบการแก้ไขความขัดแย้งด้วย
แนวทางสันติวิธี สามารถใช้ได้ทั้งในระดับปัจเจก ระดับรัฐ ระหว่างประเทศ เมื่อการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
ประสบความส้าเร็จจะท้าให้คู่กรณีลดความขัดแย้งลง เป็นเครื่องมือในการยุติความเป็นปฏิปักษ์ น้ามา
สู่ข้อตกลง หรือการยุติความขัดแย้ง (ชลัท ประเทืองรัตนา, 2562) หลักการส้าคัญของการเจรจาไกล่
เกลี่ยโดยคนกลางมี 4 ประการ คือ (1) แยกคนออกจากปัญหา (2) พิจารณาถึงจุดสนใจและ
ผลประโยชน์ร่วมของคู่กรณี โดยไม่มุ่งเน้นที่จุดยืน (3) สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับคู่กรณี และ
(4) ใช้กฎ กติกาในกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อความยุติธรรม ฉะนั้น การเลือกบุคคลที่จะเข้ามา
ท้าหน้าที่เป็นคนกลางย่อมมีความส้าคัญเช่นเดียวกัน วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ (2550) ได้กล่าวถึง
คุณสมบัติที่ดีของคนกลางไว้ คือ (1) มีความเป็นมิตรและเป็นที่ยอมรับทางสังคม เคารพต่อความ
คิดเห็นของบุคคล (2) มีประสบการณ์หรือความช้านาญในการจัดการความขัดแย้งมาก่อน (3) มองโลก
ในแง่ดี มีความรู้สึกร่วม (4) มีความยืดหยุ่น ความอดทน (5) มีความใจกว้าง มีความน่าเชื่อถือ และ
(6) ไม่อารมณ์ร้อน มีไหวพริบดีและมีความเชื่อมั่นในตนเอง
ทั้งนี้ ยังมีรูปแบบการจัดการความขัดแย้งที่ใกล้เคียงกับการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง นั่นคือการ
ประนีประนอมยอมความหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การประนอมข้อพิพาท” (Conciliation) ซึ่ง
ความส้าเร็จในการประนอมข้อพิพาท เกิดจากทั้งคู่กรณีทั้งสองฝ่ายและโดยบุคคลที่สามหรือคนกลาง
ท้าหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมข้อพิพาทด้วยความเป็นกลาง สอดคล้องกับปัญหาแห่งกฎหมาย เพื่อมุ่ง
สู่วัตถุประสงค์ของความยุติธรรมอย่างแท้จริง เมื่อการประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นจะน้าไปสู่การ
ท้าสัญญาประนีประนอมยอมความต่อไป หรือขึ้นอยู่กับคู่กรณีเอง (สุวัฒ ดวงแสนพุด, 2555)
2) การเจรจาต่อรอง (Negotiation) หมายถึง กระบวนการของบุคคลที่ต้องการแก้ไขปัญหา
โดยสันติวิธีเพื่อให้เกิดการประนีประนอม พยายามหาข้อตกลงที่ยอมรับได้ของคู่สนทนาทั้ง 2 ฝ่าย
โดยมีการเสนอข้อแลกเปลี่ยนซึ่งน้าผลประโยชน์มาให้ทั้ง 2 ฝ่าย (win-win) และรู้สึกดีเห็นพ้องกันทั้ง
2 ฝ่าย ทั้งนี้ การเจรจาต่อรองอาจไม่มีสูตรส้าเร็จที่ตายตัว เนื่องจากเป็นการพูดคุยกับ “คน” คนแต่ละคน
ย่อมมีความแตกต่างหลากหลายจึงไม่จ้าเป็นต้องมีสูตรเฉพาะในการเจรจาต่อรอง นอกจากนั้น