Page 28 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 28

16



                       ทั้งนี้ การจ้ากัดอ้านาจรัฐโดยพลเมืองด้วยวิธีการอย่างอารยะขัดขืนเป็นไปโดยเปิดเผย ไม่ใช้ความ
                       รุนแรง และยอมรับผลตามกฎหมายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้ใช้สันติวิธี เพื่อให้สังคมการเมืองเป็นธรรม มี

                       การเคารพสิทธิเสรีภาพของคนมากขึ้น และเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น อารยะขัดขืนเป็นการใช้สันติ

                       วิธีในลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกันกับวิธีการ “ไม่ให้ความร่วมมือ” กล่าวคือ ไม่ให้ความร่วมมือใน
                       การปฏิบัติตามกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล โดยต้องการให้สังคมโดยรวมเห็นว่ามีความอยุติธรรม

                       เกิดขึ้นในกฎหมายหรือนโยบายนั้น ๆ ซึ่งลักษณะเด่นของ “อารยะขัดขืน” อยู่ที่การไม่ใช้ความรุนแรง

                       และการมุ่งเน้นละเมิดกฎหมาย แต่ผู้ละเมิดจะยอมรับผลของการละเมิดกฎหมายนั้น (บุษบง ชัยเจริญ
                       วัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560)

                              10) การร่วมมือกันหรือการแก้ปัญหา (Collaborating, integrating or problem solving) การ

                       ร่วมมือกันในบางครั้งอาจหมายถึง การบูรณาการหรือการแก้ไขปัญหาซึ่งมักให้ความส้าคัญและ
                       จุดมุ่งหมายเช่นกัน เป็นทั้งการรุกและร่วมมือ คือ เกิดการบูรณาการผลประโยชน์ร่วมกันของทุก ๆ ฝ่ายที่

                       ได้รับผลกระทบ เป็นวิธีการจัดการความขัดแย้งที่เน้นวิธีการเจรจาไกล่เกลี่ยและการไกล่เกลี่ยคนกลาง

                       เป็นการใช้ทั้งวิธีบูรณาการและแบ่งสันปันส่วนในการเจรจาไกล่เกลี่ย แม้แนวทางนี้ให้ความส้าคัญแก่
                       ความสัมพันธ์แต่เป้าหมายยังมุ่งเน้นไปที่การยุติความขัดแย้ง และผลการเจรจายุติความขัดแย้งที่ตามมา

                       ภายหลัง (สุวัฒ ดวงแสนพุด, 2555)

                              11) การมีส่วนร่วม (Participation) กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการ “สร้าง
                       เวที” และ “เปิดเวที” ให้แก่ประชาชน (public) หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholder) ที่ได้รับ

                       ผลกระทบโดยตรง (direct) หรือโดยอ้อม (indirect) เข้ามามีส่วนร่วมในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ

                       ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมสังเกตการณ์ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์ เป็นต้น ดังที่
                       ศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วัฒนศัพท์ ได้น้าเสนอว่า “การมีส่วนร่วม (participation) เป็นการให้

                       พื้นที่แก่ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในมิติต่าง ๆ ทั้งการร่วมคิด วางแผน

                       สังเกตการณ์ แสดงทัศนะ เพื่อใช้ประกอบการก้าหนดนโยบายของรัฐ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมกันรับ
                       ผลประโยชน์ในกิจกรรมต่าง ๆ การมีส่วนร่วมของประชาชน มีทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการ

                       ใช้ข้อมูลร่วมกัน และเป็นการเสริมความสามัคคีในสังคม ทั้งยังเป็นการเพิ่มคุณภาพของการตัดสินใจจาก

                       ฉันทามติ ช่วยลดค่าใช้จ่าย และการสูญเสียเวลา ท้าให้ง่ายต่อการน้าไปปฏิบัติช่วยให้เกิดความน่าเชื่อถือ
                       ความชอบธรรม และช่วยให้ทราบความห่วงกังวลของประชาชน และค่านิยมของสาธารณชน รวมทั้งเป็นการ

                       พัฒนาความเชี่ยวชาญและความคิดสร้างสรรค์ของสาธารณชน (สุวัฒ ดวงแสนพุด, 2555)

                              12) การลงมติหรือการลงคะแนนเสียง (Voting) เป็นการลงมติเพื่อตัดสินหรือหาทางออก
                       ให้แก่ความขัดแย้ง หรือข้อพิพาทในประเด็นต่าง ๆ โดยแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การลงคะแนนเสียงแบบ

                       เอกฉันท์ (unanimity) และการลงคะแนนแบบเสียงข้างมาก (majority) (สุวัฒ ดวงแสนพุด, 2555)
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33