Page 26 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 26

14



                       กระบวนการเจรจา ไม่จ้าเป็นต้องอาศัยคนกลางหรือบุคคลที่สาม และอาจจะเป็นการเจรจาต่อรอง
                       เฉพาะคู่ขัดแย้งหลัก หรือเป็นการส่งตัวแทนมาพูดคุย หลักการส้าคัญในการเจรจาต่อรองที่ควรยึดถือ

                       ปฏิบัติ คือ (1) ยอมรับสถานะของคู่ขัดแย้ง หรือคู่กรณี (2) เข้าใจจุดยืน มุมมอง และเหตุผลของคู่กรณี

                       ฝ่ายตรงข้าม (3) เห็นส่วนดีของคู่เจรจาไม่ว่าจะเป็นทัศนคติหรือพฤติกรรม (4) มองคู่เจรจาว่าเป็นผู้ที่
                       สามารถเป็นฝ่ายเดียวกับเราได้ หรือจะตกลงกันได้ โดยได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และ (5) เจรจากับคู่

                       เจรจาอย่างสุภาพและเปิดเผย (เกียรติศักดิ์ วัฒนศักดิ์, 2553)

                              3) การใช้อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการระงับข้อพิพาท
                       ทางเลือกที่ได้รับความนิยม รูปแบบการระงับข้อพิพาทของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เป็นกรณีที่

                       คู่พิพาทตกลงกันแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือคณะบุคคลหนึ่งขึ้นเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือคณะ

                       อนุญาโตตุลาการ เพื่อท้าการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่มีระหว่างกัน กล่าวคือ กระบวนการ
                       อนุญาโตตุลาการจะมีการตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทที่มีอยู่ ไม่ใช่แค่เป็นกรณีมีบุคคลที่สามเข้ามาช่วยใน

                       การระงับข้อพิพาทแบบการไกล่เกลี่ย ประนีประนอม และเมื่ออนุญาโตตุลาการ หรือคณะ

                       อนุญาโตตุลาการ ตัดสินชี้ขาดข้อพิพาทดังกล่าวแล้วค้าชี้ขาดดังกล่าวจะมีผลผูกพันตามกฎหมายใน
                       ระหว่างคู่พิพาทสามารถบังคับตามค้าชี้ขาดนั้นได้ตามกฎหมาย ทั้งนี้ คู่พิพาทสามารถยับยั้ง

                       กระบวนการอนุญาโตตุลาการหรือการไม่ให้การรับรองแก่ค้าชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ ในกรณีที่มี

                       การปฏิเสธไม่ปฏิบัติตามค้าชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือคณะอนุญาโตตุลาการ (วิภุส แสนเจริญ,
                       2558)

                              4) กระบวนการนิติบัญญัติ (Legislation) สืบเนื่องจากความขัดแย้งในบางกรณีเกิดขึ้นเพราะ

                       ผู้คนได้รับความเดือนร้อนจากข้อกฎหมายที่ล้าสมัย หรือกฎหมายที่เอื้อผลประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม
                       เช่น กฎหมายป่าสงวนที่ถูกก้าหนดขึ้นและบังคับใช้ภายหลังจากที่ผู้คนได้เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่ามา

                       หลายปีแล้ว กฎหมายนี้จึงออกมาภายหลังในการห้ามไม่ให้ผู้คนเข้ามาใช้พื้นที่ ฉะนั้น ทางแก้ไขเพื่อ

                       ระงับความขัดแย้งนี้ อาจจะต้องแก้ไขที่ตัวกฎหมาย โดยการใช้กระบวนการนิติบัญญัติ เช่น การร่าง
                       กฎหมายป่าชุมชนหรือสิทธิชุมชนขึ้นมาเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหา เป็นต้น (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ

                       และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560)

                              5) การเจรจาไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรม (Cross Cultural Mediation) เป็นการเจรจาไกล่เกลี่ย
                       เพื่อให้คู่กรณีที่ต่างวัฒนธรรมกันได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่ายโดยมีบุคคลที่สามท้าหน้าที่เป็น

                       คนกลาง (mediator) ในการไกล่เกลี่ย ซึ่งบุคคลที่สามนี้จ้าเป็นต้องเรียนรู้วัฒนธรรมของคู่กรณี และ

                       จะต้องเป็นคนที่เปิดกว้างรับความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ ชนชั้น เพศ และศาสนา โดยมีการเลือกใช้
                       ภาษาเป็นกุญแจส้าคัญในการเจรจาไกล่เกลี่ย (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560;

                       เมเยอร์ เบอร์นาร์ด, 2553)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31