Page 24 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 24
12
2) โจมตีที่ปัญหา หลักคิดนี้เป็นการแยกปัญหาออกจากตัวบุคคล คือ เมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้น
สิ่งที่ต้องจัดการกับความขัดแย้งนั้น คือ จัดการที่ปัญหาไม่โจมตีหรือมุ่งจัดการที่ตัวบุคคล เพราะหาก
เรามุ่งโจมตีหรือจัดการที่ตัวบุคคล ความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณีจะยิ่งดิ่งต่้าลง ต่างฝ่ายต่างปกป้อง
ตนเองและคิดหาแต่วิธีโจมตีกลับกันไปมา ในขณะเดียวกันยิ่งเป็นการสร้างก้าแพงปิดกั้นทางออกของ
ปัญหา
3) สร้างความสัมพันธ์อันดี ความสัมพันธ์ที่ดีที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจต่อกัน
(trust) ซึ่งการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนั้น จัดได้ว่าเป็นขั้นตอนส้าคัญล้าดับต้น ๆ ของการจัดการ
ความขัดแย้งด้วยแนวทางสันติวิธี เนื่องจากสิ่งแรกที่ต้องด้าเนินการในการจัดการความขัดแย้งนั้นคือ
ฟื้นฟูสัมพันธภาพของคู่กรณี เพราะหากไม่ฟื้นฟูสัมพันธภาพที่ดีหรือความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันของ
คู่กรณี อาจมีผลให้เกิดความหวาดระแวงต่อค้าพูดของอีกฝ่ายมากกว่าการเปิดใจยอมรับฟังอีกฝ่าย
จนกระทั่งอาจเป็นผลให้คู่กรณีทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเข้าใจกันและกันหรืออาจรวมไปถึงไม่ยอมรับ
ข้อเสนอระหว่างกัน
4) ไม่มุ่งเอาชนะกัน แต่สร้างความร่วมมือกัน ในการแก้ไขความขัดแย้งนั้น คู่กรณีจะต้องไม่อยู่
บนฐานคิดแบบการเล่นเกมส์ คือ มีฝ่ายแพ้และมีฝ่ายชนะ เพราะหากคิดเช่นนั้น คู่กรณีจะมีแนวโน้ม
ในการใช้วิธีการรุนแรง การบิดเบือนข้อมูล และการหักหลังกัน ซึ่งอาจมีผลให้ความขัดแย้งเกิดการขยายตัว
มากขึ้น ในทางกลับกัน หากคู่กรณีตัดการคิดแบบการเล่นเกมส์ออกไปและร่วมมือกันคิดหาทางออกที่
สร้างสรรค์ร่วมกันอันจะเป็นการส่งเสริมการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
5) ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย โดยส่วนใหญ่แล้วความขัดแย้งที่มีความรุนแรงเข้ามา
เกี่ยวข้อง อาจมีเหตุจากความต้องการขั้นพื้นฐานของคู่กรณีไม่ได้รับการตอบสนอง ดังนั้น หากจะ
แก้ไขความขัดแย้ง ความต้องการขั้นพื้นฐานของทุกฝ่ายจะต้องได้รับการตอบสนองซึ่งจะท้าได้บน
พื้นฐานของการร่วมมือกัน
6) มองทุกคนมีความเป็นมนุษย์เหมือนกัน ทุกคนเท่าเทียมกัน การมองผู้อื่นว่าเป็นมนุษย์
เหมือน ๆ กับเราเป็นปัจจัยที่จะป้องกันการใช้ความรุนแรงต่อกัน เพราะการท้าลายหรือการท้าร้าย
บุคคลอื่นที่เราคิดว่ามีความเป็นมนุษย์ มีครอบครัวที่รัก มีสุข มีทุกข์ มีเจ็บ มีเสียใจเฉกเช่นเดียวกับเรา
เราก็จะกระท้ารุนแรงต่อเขาได้ยากล้าบากขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากเรามองผู้อื่นว่ามิใช่มนุษย์ เราจะ
กระท้าความรุนแรงต่อผู้นั้นได้ง่ายขึ้น
7) เน้นทั้งเหตุผลและความรู้สึก การจัดการความขัดแย้ง คือ การจัดการกับวิธีที่ผู้คนคิดและ
รู้สึก ดังนั้นการใช้เหตุผลเพียงอย่างเดียวในการจัดการความขัดแย้ง เป็นสิ่งที่นักสันติวิธีมองว่าไม่
สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากการจัดการความขัดแย้งที่ดีควรใช้ทั้งเหตุผลและความรู้สึกเป็นปัจจัย
ขับเคลื่อน