Page 23 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 23

11



                       ลงรอยและการปะทะกันระหว่างความคิด ผลประโยชน์ เป้าหมาย ความเชื่อ และความต้องการของ
                       บุคคลหรือกลุ่มบุคคล ซึ่งความขัดแย้งมีหลายระดับ นับตั้งแต่ระดับปัจเจกบุคคล ระดับระหว่างบุคคล

                       ระดับสังคม ไปจนสู่ระดับชาติและระดับนานาชาติ” เช่นเดียวกับที่ รัฐพล เย็นใจมา และคณะ (2561)

                       ให้ความหมายว่า ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างที่บุคคล 2 คน
                       หรือมากกว่า แสดงพฤติกรรมเปิดเผยออกมาอย่างแตกต่างกัน ในขณะที่ สันติวิธี ที่เป็นแนวทาง

                       จัดการความขัดแย้งนั้น “เป็นกระบวนการตอบโต้กับสถานการณ์ความขัดแย้งในรูปแบบที่ไม่ใช้ก้าลัง

                       ทางกายภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง” ดังนั้น สันติวิธีจึงไม่ได้หมายความถึงความเฉื่อยชา
                       (passive) และ การไม่กระท้า (inaction) หากแต่เป็นการกระท้าหรือการแสดงออกในรูปแบบหนึ่งที่ไม่ใช้

                       ความรุนแรง เช่น การอดอาหาร การคว่้าบาตรทางเศรษฐกิจ หรือไม่ให้ความร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ

                       รวมไปจนถึงการเจรจาและการไกล่เกลี่ยกับคู่ขัดแย้ง เป็นต้น ดังจะเห็นว่า ผู้ที่ใช้สันติวิธีในการแก้ไข
                       ความขัดแย้งจะไม่ต้องการใช้ความรุนแรงและไม่ต้องการท้าให้การต่อสู้นั้นมีผู้คนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

                       ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้สันติวิธีจะต้องใช้ความกล้าหาญในการชนะใจตนเอง ใช้ความอดทน สามารถ

                       ควบคุมตนเองได้ และมีความเข้าใจ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และ
                       เหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560) ขณะที่ สุวัฒ ดวงแสนพุด (2555) กล่าวว่า “สันติวิธี” คือ แนวทางใน

                       การต่อสู้หรือการกระท้าเพื่อให้ได้ชัยชนะที่เป็นไปตามข้อเรียกร้องของตนเองหรือของมวลสมาชิก โดย

                       แนวทางดังกล่าวเป็นแนวทางที่ปราศจากความรุนแรง ไม่ท้าลายชีวิตและทรัพย์สิน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณา
                       ถึงความหมายของสันติวิธีพบว่าเป็นค้าที่มีการใช้กันมากในแวดวงการศึกษาของไทย โดยมักใช้ค้าว่า

                       สันติวิธีปนกันกับค้าว่า “อหิงสา” เนื่องจากมีความหมายบางประการที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่ค้าว่า

                       “อหิงสา” มุ่งเน้นที่ศาสนธรรม ในขณะที่สันติวิธีเน้นไปที่กระบวนการทางสังคมและการเมือง (Paisal
                       Visalo, 2012)



                              2.2.2 แนวทางและหลักคิดของสันติวิธี
                              สันติวิธีมุ่งเน้นการไม่ใช้ความรุนแรง เพราะการใช้ความรุนแรงอาจน้าไปสู่ความแตกแยก และ

                       สร้างความเสียหายต่อจิตใจและร่างกายทั้งในส่วนของปัจเจกและส่วนรวม ดังนั้น ก่อนการน้าแนวทาง

                       สันติวิธีไปใช้จึงควรเข้าใจถึงหลักคิดของสันติวิธี ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 8 ประการ ดังนี้ (บุษบง ชัยเจริญ
                       วัฒนะ และเหมือนขวัญ เรณุมาศ, 2560)

                              1) ปฏิเสธการใช้ความรุนแรงอย่างสิ้นเชิง ความรุนแรงมีผลเป็นการท้าลาย ทั้งในแง่ของ

                       ความสัมพันธ์ของคู่กรณีและสถานการณ์ความขัดแย้ง ท้าให้ทิศทางของความขัดแย้งเปลี่ยนแปลงไป
                       ในทางลบ และความรุนแรงจะท้าให้ข้อเรียกร้องที่ชอบธรรมของฝ่ายผู้ใช้ความรุนแรงกลายเป็นสิ่งที่ไม่

                       ชอบธรรม ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะมีข้อเรียกร้องที่เป็นธรรมเพียงใดหากแต่วิธีการเรียกร้องข้อเรียกร้องนั้น
                       ไม่เป็นธรรมย่อมไม่สามารถได้รับการตอบสนองจากฝ่ายตรงข้าม
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28