Page 21 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 21

9



                       อ่าวปัตตานีเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างยั่งยืน (2) ด้านการเสริมสร้างจิตส้านึก/
                       ความรู้ด้านกฎหมายและหลักสิทธิชุมชน (3) ด้านการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนในพื้นที่รอบอ่าวปัตตานี

                       กับเจ้าหน้าที่ภาครัฐ (4) ด้านการน้าหลักกฎหมายที่ก้าหนดมาปฏิบัติในเชิงรุก (5) ด้านการเสริมสร้าง

                       ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม (6) ด้านการส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน และ (7) ด้านการ
                       สร้างการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยค้านึงถึงสิทธิชุมชน

                              2) สิทธิภายนอก คือ การอ้างสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร และด้าเนินการปกป้องฐาน

                       ทรัพยากรไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาท้าลาย หรือมาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ทรัพยากรที่ส่งผล
                       กระทบต่อการด้ารงอยู่ของชุมชน กล่าวคือ สิทธิชุมชนเหนือทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                       เหนือภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณีและวัฒนธรรม ซึ่งถือเป็นสิทธิในบุคลิกภาพของแต่ละ

                       บุคคล (rights of personality) แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นสิทธิที่มีขึ้นเพื่อคุ้มครองวิถีชีวิตชุมชนให้
                       สามารถด้ารงอยู่อย่างกลมกลืน กับวิถีชีวิตของกลุ่มอื่น ๆ สิทธิในลักษณะดังกล่าวจึงเป็นสิทธิรวมหมู่

                       ของคณะบุคคล (collective rights) ที่บุคคลไม่สามารถด้าเนินการได้โดยล้าพัง ทั้งนี้การใช้สิทธิ

                       ภายนอกเพื่อปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชนสามารถพบเห็นได้จากรายงาน
                       การศึกษาต่าง ๆ เช่น

                              รจนา ค้าดีเกิด (2554) ได้ศึกษาทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนลุ่มน้้าโขง

                       จังหวัดอุบลราชธานี รวมถึงศึกษาการรวมกลุ่ม การสื่อสาร ความตื่นตัว รูปแบบความตื่นตัว และ
                       ปัจจัยที่มีผลต่อความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิต

                       ของคนลุ่มน้้าโขง จังหวัดอุบลราชธานี จากโครงการไฟฟ้าพลังน้้าเขื่อนบ้านกุ่ม จากการศึกษาพบว่า

                       คนลุ่มน้้าโขง จังหวัดอุบลราชธานี มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่ผูกพันกับทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้้าโขง
                       เป็นอย่างมาก มีการสื่อสารเรื่องเขื่อนในหลายรูปแบบ มีความตื่นตัวด้านสิทธิชุมชนในการบริหาร

                       จัดการและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตจากโครงการไฟฟ้าพลังน้้าเขื่อนบ้านกุ่ม

                       ใน 3 ลักษณะ คือ เพิกเฉย คัดค้าน และยอมรับเขื่อน มีรูปแบบความตื่นตัวในรูปแบบต่าง ๆ คือ การ
                       แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชุมชน การแสดงออกต่อสาธารณะ การสอบถามข้อมูลจากภาครัฐ การ

                       แลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนที่เคยได้รับผลกระทบเรื่องเขื่อนผ่านการศึกษาดูงานและเตรียมพร้อมเพื่อรับ

                       การเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้
                              ในด้านขอบเขตของสิทธิชุมชน ถึงแม้ว่าชุมชนจะมีสิทธิและเสรีภาพในการด้าเนินการต่าง ๆ

                       ภายใต้ข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ อย่างไรก็ตาม การด้าเนินการดังกล่าวย่อมมีขอบเขต ดังนี้ (พิมรดา

                       มณีอินทร์, 2558)
                              1) สิทธิชุมชนมีผู้ทรงสิทธิ์ โดยผู้ทรงสิทธิของสิทธิชุมชนนั้นเป็นสิทธิของปัจเจกบุคคลหลาย ๆ

                       บุคคลมารวมกันเป็นสิทธิชุมชน การเลือกใช้การรวมกลุ่ม ร่วมหมู่ หรือรวมกันเป็นชุมชนตามหลักปัจเจก
                       นิยมในสิทธิมนุษยชน อธิบายว่า กลุ่มคนสามารถมีลักษณะเป็นสิทธิรวมหมู่ได้ แต่ไม่ใช่สิทธิขององค์กร
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26