Page 19 - รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ สิทธิชุมชนในการจัดสรรทรัพยากรน้ำโดยใช้แนวทางสันติวิธี : กรณีศึกษาพื้นที่ต้นน้ำของประเทศไทย
P. 19

7



                       ระหว่างรัฐกับประชาชนหรือชุมชนจนกลายเป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานรัฐกับประชาชนหรือ
                       ชุมชนขึ้นสู่การพิจารณาของศาล



                              2.1.2 การให้ความหมายและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกันของสิทธิชุมชนกับสิทธิ
                       มนุษยชน: แม้ค้าว่า “สิทธิชุมชน” (Community Right) จะเริ่มเป็นที่รู้จักในสังคมไทยบ้างแล้ว โดย

                       พิจารณาจากการให้ความคุ้มครองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช

                       2540  2550 และ 2560 ซึ่งใช้ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2563) แต่หากจะกล่าวถึงความหมายของสิทธิชุมชน
                       ในเชิงหลักการและวิชาการแล้ว ควรกล่าวถึงความหมายของค้าว่า “สิทธิมนุษยชน” ก่อน เนื่องจาก

                       แนวคิดสิทธิชุมชนถูกพัฒนาขึ้นจากสิทธิมนุษยชนที่มีฐานคิดจากเรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นพื้นฐาน ขณะที่

                       สิทธิชุมชนมีลักษณะเป็นสิทธิรวมหมู่ (collective right) ไม่ใช่สิทธิของผู้ใดผู้หนึ่ง
                              ดังนั้น หากกล่าวโดยสังเขป “สิทธิมนุษยชน” จึงหมายถึง ศักดิ์ศรีแต่ก้าเนิด และสิทธิที่เท่า

                       เทียมกันและที่ไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งมวลแห่งครอบครัวมนุษยชาติ เป็นพื้นฐานแห่งอิสรภาพ

                       ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก โดยสิทธิมนุษยชนถือเป็นสิทธิประจ้าตัวของมนุษย์ทุกคนซึ่งมี
                       ศักดิ์ศรีและมีเกียรติ ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ หรือกล่าวได้ว่า สิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งจ้าเป็นส้าหรับคน

                       ทุกคนที่ต้องได้รับในฐานะที่เกิดเป็นคน ทั้งนี้ สิทธิมนุษยชนประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ (1) กรณีสิทธิ

                       ที่ติดตัวคนทุกคนมาแต่ก้าเนิดซึ่งไม่สามารถถ่ายโอนให้แก่กันได้ อยู่เหนือกฎหมายและของรัฐทุกรัฐ
                       ได้แก่ สิทธิในชีวิต ห้ามการค้ามนุษย์ ห้ามทรมาน สิทธิในความเชื่อทางศาสนา ทางการเมือง มี

                       เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกหรือการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น สิทธิมนุษยชน

                       เหล่านี้ไม่จ้าเป็นต้องมีกฎหมายมารองรับ และ (2) กรณีเป็นสิทธิที่ต้องได้รับการรับรองในรูปของ
                       กฎหมายของรัฐ ยกตัวอย่างเช่น การได้รับสัญชาติ ความเสมอภาค สิทธิเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคน

                       พิการ การได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การประกันการว่างงาน และการได้รับบริการทางด้าน

                       สาธารณสุข เป็นต้น (นพดล พลเสน, 2559; กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, 2562)
                              ขณะที่ค้าว่า “สิทธิชุมชน” ประกอบจากค้าว่า “สิทธิ” ที่หมายถึง อ้านาจที่ถูกต้องตาม

                       หลักธรรม ตามหลักคุณงามความดี ความถูกต้อง ความยุติธรรม เช่น หลักศาสนา หลักกฎหมาย หรือ

                       หลักเกณฑ์ประเพณีและเกณฑ์คุณค่าที่คนในสังคมนั้น ๆ ยึดถือร่วมกัน ในภาษาอังกฤษ “สิทธิ” ตรง
                       กับค้าว่า “right” ที่แปลว่าความถูกต้อง (ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2555) และค้าว่า

                       “ชุมชน” หรือ “community” ที่หมายถึง คณะบุคคลหรือหมู่คณะซึ่งรวมกันโดยมิได้มีจุดมุ่งหมายที่

                       ชัดเจนโดยเป็นลักษณะของวิถีชีวิตที่ด้าเนินไปเองตามธรรมชาติ (พงศ์เสวก อเนกจ้านงค์พร และนวพร
                       ศิริบันเทิงศิลป์, 2553) อย่างไรก็ตาม ได้มีผู้ให้ความหมายของค้าว่า “สิทธิชุมชน” อย่างหลากหลาย เช่น

                              ส้านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2555) กล่าวว่า “สิทธิชุมชน” หมายถึง หมู่ชน กลุ่ม
                       คนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มีที่อยู่ร่วมกันเป็นสังคม มีขอบเขตเป็นชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หรือหลาย
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24