Page 21 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 21
14
หรือมีเอกสารแต่บกพร่องที่จะใช้ในการพิสูจน์สัญชาติ โดยส่วนมากจะพบในพื้นที่ห่างไกลความเจริญหรือ
ห่างไกลจากการจัดการทางทะเบียนราษฎรของรัฐ
2) ปัญหาความไร้รัฐที่เกิดแก่ชนกลุ่มน้อย โดยข้อเท็จจริงชนกลุ่มน้อยในหลายพื้นที่เป็นกลุ่มชน
พื้นเมืองที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาดั้งเดิม แต่ก็มีบุคคลไม่น้อยที่ตกเป็นคนไร้รัฐซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
คือ กลุ่มที่มีรากเหง้าจากบรรพบุรุษที่เกิดนอกประเทศไทย และกลุ่มที่มีรากเหง้าจากบรรพบุรุษที่เกิดใน
ประเทศไทย ซึ่งชนกลุ่มน้อยนี้ก็ประสบปัญหาในการตกเป็นคนไร้สัญชาติก็เนื่องมาจากการขาดเอกสารในการ
พิสูจน์ตัวบุคคลเช่นเดียวกับกลุ่มชนพื้นเมือง โดยอาจเกิดจากการอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และการไม่รู้ไม่เข้าใจใน
ระบบทะเบียนราษฎรของรัฐ เป็นต้น
3) ความไร้รัฐที่เกิดแก่ผู้อพยพเข้ามาในประเทศไทย กลุ่มนี้จะมีปัญหาสถานะบุคคลตามกฎหมาย
มักจะมีบรรพบุรุษในช่วงใดช่วงหนึ่งเกิดนอกราชอาณาจักรไทย ซึ่งอาจจะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
เนื่องจากหลบหนีภัยจากการสู้รบ หรือเหตุอื่น ๆ ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเข้ามาอยู่อาศัยในฐานะผู้ลี้ภัย
4) ปัญหาความไร้รัฐที่เกิดแก่กลุ่มคนไร้รากเหง้า ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่รู้รากเหง้าของตน คือ ไม่ทราบว่า
ตนเป็นบุตรของใคร เกิดที่ไหน
13
2.1.3 คนไร้รากเหง้า
“คนไร้รากเหง้า” คือคนไร้สัญชาติเพราะไม่อาจที่จะพิสูจน์ทราบจุดเกาะเกี่ยวของพวกเขากับรัฐ
เพราะความไม่รู้ในจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐ ก็ส่งผลให้ไม่อาจจัดสรรได้ว่า เขาเป็นคนสัญชาติของรัฐใด ความไร้
รากเหง้าอาจนำไปสู่การถูกสันนิษฐานโดยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองว่า เป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองผิดกฎหมาย
ซึ่งทางกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จำแนก “บุคคลไร้รากเหง้า” ตามสถานการณ์เกิดออกเป็น 3
14
ประเภท ดังนี้
(1) บุคคลไร้รากเหง้าที่พิสูจน์ได้ว่าเกิดในประเทศไทย ได้แก่ เด็กแรกเกิด เด็กไร้เดียงสาที่ถูกทิ้งไว้ใน
สถานพยาบาลหรือสถานที่ซึ่งเด็กเกิด หรือเด็กแรกเกิดซึ่งถูกทอดทิ้งตามสถานที่ต่าง ๆ โดยพฤติการณ์แล้วไม่
อาจพิจารณาได้ว่าเกิดนอกราชอาณาจักร โดยจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งบุคคลไร้รากเหง้าที่ไม่ปรากฏ
ข้อมูลของบิดามารดาทั้งข้อมูลทะเบียนทะเบียนราษฎรและสัญชาติ ซึ่งตามหลักกฎหมายจารีตประเพณี
ระหว่างประเทศแล้ว ไม่อาจสันนิษฐานว่าบิดามารดาของเด็กเป็นคนต่างด้าว เนื่องจากขัดต่อหลักนิติธรรม
และไม่เกิดประโยชน์ต่อเด็ก รวมทั้งไม่สอดคล้องกับหลักกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองประโยชน์สูงสุดของเด็ก
ตามอนุสัญญาว่าด้วยเด็ก และกลุ่มที่สอง บุคคลไร้รากเหง้าที่ปรากฏข้อมูลของบิดามารดาโดยเฉพาะข้อมูล
ทะเบียนราษฎรและสัญชาติ ซึ่งทำให้ทราบว่าบิดามารดาของเด็กเป็นใคร มีสัญชาติใดในขณะเด็กเกิด
13 อ้างแล้ว, สุวิมล อิสริยานนท์
14 หนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0309/ว 11682 ลงวันที่ 8 พฤษภาคม 2562 เรื่องแนวทางปฏิบัติในการแก้ปัญหา
สถานะบุคคลและสัญชาติกรณีเด็กและบุคคลไร้รากเหง้า