Page 19 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 19

12


               ส่วนบุคคลที่ไม่ได้รับสัญชาติจากการเกิดตามกฎหมายของรัฐ หรือไม่ได้รับพิจารณาอนุมัติสัญชาติในการขอ

               สัญชาติเรียกว่า บุคคลไร้สัญชาติโดยผลของกฎหมาย (de jure stateless) อย่างไรก็ดีบุคคลอาจมีสิทธิที่จะ

               ได้รับสัญชาติของรัฐมากกว่าหนึ่งรัฐ แต่หากไม่มีรัฐให้พร้อมจะให้ความคุ้มครองแก่บุคคลนั้นเฉกเช่นพลเมือง

               การที่บุคคลนั้นไม่ได้รับสัญชาติและความคุ้มครองจากรัฐโดยสมบูรณ์ ถือว่าบุคคลนั้นเป็นบุคคลไร้สัญชาติโดย
               พฤตินัยหรือผู้ที่ไม่ได้การรับรองสัญชาติ (de facto stateless)
                                                                  10
                       2.1.2 คนไร้สัญชาติ
                                        11
                       คนไร้สัญชาติ หมายถึง คนที่ไม่ได้รับการยอมรับให้มีสถานะเป็นคนมีสัญชาติของรัฐใดเลย (National–

               Less) ภายหลังจากได้พิจารณากฎหมายว่าด้วยสัญชาติของรัฐที่มีจุดเกาะเกี่ยวโดยแท้จริง (Genuine link) กับ

               บุคคลนั้น อันได้แก่ กฎหมายของรัฐอันเป็นเจ้าของดินแดนอันเป็นถิ่นที่เกิดหรือเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของบุคคล

               นั้น หรือกฎหมายของรัฐเจ้าของตัวบุคคลผู้เป็นบุพการีหรือคู่สมรสของบุคคล ซึ่งปัญหาความไร้สัญชาติ

               (Nationality less) ที่เกิดขึ้นแก่บุคคลธรรมดานั้นคือ สภาพที่บุคคลไม่มีสัญชาติของประเทศใดเลยในโลก
               กล่าวโดยหลักกฎหมายได้ว่า คนไร้สัญชาติมีสถานะเป็นคนต่างด้าวในทุกประเทศของโลก

                       สำหรับปัญหาไร้สัญชาติจะมีความรุนแรงมากขึ้น หากบุคคลไม่ได้รับการยอมรับให้ “สิทธิอาศัย” โดย

               รัฐใดเลยในโลกซึ่งผลของกฎหมายบุคคลในสถานการณ์นี้จึงตกเป็น “คนต่างด้าวผิดกฎหมาย” ในทุกประเทศ

               บุคคลในลักษณะนี้จึงตกเป็น “คนไร้รัฐ” (Stateless) โดยสิ้นเชิง แต่ในขณะเดียวกันคนไร้สัญชาติอาจจะไม่ใช่

               คน “ไร้รัฐ” (Stateless) หากปรากฏต่อไปว่า มีรัฐใดรัฐหนึ่งยอมรับให้ “สิทธิอาศัย” แก่คนไร้สัญชาตินั้น
               เพราะการได้รับอนุญาตให้มีสิทธิอาศัยในดินแดนของรัฐใด ก็ย่อมหมายความว่ารัฐนั้นยินยอมที่จะมีสถานะเป็น

               “รัฐเจ้าของดินแดนอันเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น” (State of Domicile) บุคคลนั้นจึงอาจตั้งบ้านเรือนอยู่ใน

               ดินแดนของรัฐนั้นได้ และมีภูมิลำเนาอยู่ในกฎหมายมหาชนของรัฐนั้น อันทำให้บุคคลนั้นมีสิทธิที่จะร้องขอลง

               รายการสถานะบุคคลของตนในทะเบียนราษฎร์ (Civil Registration) ของรัฐนั้นได้ และย่อมหมายความว่าไป

               ว่าบุคคลนั้นย่อมมีสถานะเป็น “ราษฎร” หรือ “พลเมือง” หรือ “Citizen” หรือ “People” ของรัฐที่ยอมรับ

               ให้สิทธิอาศัยแก่บุคคลเหล่านั้น

                       แต่อย่างไรก็ดี เมื่อปรากฏว่าบุคคลไม่มีสัญชาติของรัฐใด ผลที่ตามมาก็คือเขาจะไม่มีรัฐเจ้าของสัญชาติ
               (State of Nationality) แต่ถ้าหากเขามีสิทธิอาศัยในประเทศใดประเทศหนึ่งแล้ว เขาก็จะมีรัฐเป็นเจ้าของ




               10  อ้างแล้ว, Marilyn Achiron(UNHCR)
               11  พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, อัญชลี กิจธนไพบูลย์, อรวรรณ รอดสังวาล,สุวรรณี เข็มเจริญ และ อารยา ชินวรโกมล

               , รายงานผลการวิจัยภายใต้โครงการศึกษาปัญหาผลกระทบด้าน สิทธิมนุษยชนต่อคนไร้สัญชาติในประเทศไทย ในการประชุม
               วิชาการเรื่อง งานวิจัยของประเทศไทยด้านการย้ายถิ่นระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์, 24 มิถุนายน 2545, ณ ห้องประชุม
               จุมภฏพันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ้างใน สุวิมล อิสริยานนท์, แนวทางในการ

               คุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย: ศึกษากรณีการให้สิทธิและสถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า,
               (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558), น.11-13
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24