Page 26 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 26

19


               กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และเพื่อให้เป็นไป

               ตามหลักสืบสายโลหิตตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ จึงกําหนดให้บุตรของคนไทยพลัดถิ่นที่ได้สัญชาติไทยโดย

               การเกิดโดยพระราชบัญญัตินี้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น หรือได้สัญชาติไทยแล้วก็ได้สัญชาติไทยโดยการ

               เกิดด้วย
                       หลักการได้สัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508

                       สำหรับการได้มาซึ่งสัญชาติไทยภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

                                                  24
               มีหลักของการได้มาซึ่งสัญชาติ 2 หลักใหญ่  คือ
                       1) การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้

                               1.1) การได้สัญชาติไทยโดยหลักสายโลหิต กล่าวคือ บิดาหรือมารดาผู้ให้กำเนิดเป็นผู้มี
                       สัญชาติไทยในขณะที่บุตรเกิดทั้งเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย  ย่อมได้สัญชาติไทยทุกคน
                                                                             25
                              1.2) การได้สัญชาติไทยโดยหลักดินแดน กล่าวคือ บุคคลใดเกิดในราชอาณาจักรไทยย่อมได้

                                 26
                       สัญชาติไทย  รวมถึงบุคคลที่เกิดในเรือไทยและอากาศยานไทยด้วย ซึ่งพิจารณาจากบุตรที่เกิดจาก
                       บิดาและหรือมารดาที่มีสัญชาติไทย หรือบุตรของบุคคลต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศ

                       ไทยแบบมีถิ่นที่อยู่ถาวร (มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่) ย่อมได้สัญชาติไทยตั้งแต่เกิดตามหลักดินแดน
                                                                                                27
                       2) การได้สัญชาติไทยโดยกระบวนการของกฎหมาย (หลังการเกิด) ได้แก่ “การยื่นเรื่องและ
               พิจารณา” ของบุคคลนั้นมีดังนี้

                              2.1) การขอสัญชาติไทย กล่าวคือ บุคคลต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยอาจจะขอสัญชาติไทย

                       ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและนโยบายของรัฐบาลกำหนด ซึ่งรัฐบาลไทยมีนโยบายให้บุคคลกลุ่มต่างๆ

                       18 กลุ่ม ขอสัญชาติไทยได้ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไข

                                                28
                       เพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551  และตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2559   กล่าวคือ
                                                                                                29
                       บุตรของคนที่เข้าอพยพเข้ามาในราชอาณาจักรและอาศัยอยู่เป็นเวลานาน ครอบคลุมชนกลุ่มน้อยและ
                       กลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติไว้เดิมรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ในราชอาณาจักร อาทิ กลุ่ม



               24  กรมการปกครอง, การได้มาซึ่งสัญชาติไทย, เว็บไซต์ https://multi.dopa.go.th/secofdopa/news/cate10/

               view184, สืบค้นวันที่ 21 ตุลาคม 2564
               25  พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (1)
               26  พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7 (2)
               27  อ้างแล้ว, วีนัส สีสุข, ยินดี ห้วยหงส์ทองและมานะ งามเนตร์, น.2-3

               28  พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2551 มาตรา 7 ทวิ วรรคสอง
               “ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยซึ่งไม่ได้สัญชาติไทยในฐานะใด ภายใต้เงื่อนไขใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดย
               คำนึงถึงความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรและสิทธิมนุษยชนประกอบกัน ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงดังกล่าว ให้ถือว่าผู้นั้น

               เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง”
               29  อ้างแล้ว, วินัส สีสุข, ยินดี ห้วยหงส์ทองและมานะ งามเนตร์, น.2-3
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31