Page 23 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 23

16


               พิสูจน์สัญชาติตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 และนโยบายของรัฐบาลในการกำหนด

               สถานะบุคคล

               2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดสถานะบุคคล

                       ในปัจจุบันการกำหนดสถานะบุคคลของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ซึ่งอาศัยหลักการตาม

               พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 และฉบับแก้ไข พระราชบัญญัติการทางทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 และ

               ฉบับแก้ไข พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พร้อมทั้งนโยบายของรัฐบาลตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้


                       2.2.1 แนวคิดเกี่ยวกับสัญชาติ
                       สัญชาติ คือ สิ่งที่ผูกพันทางการเมืองและทางจิตใจที่ผูกมัดบุคคลไว้กับรัฐใดรัฐหนึ่ง การที่บุคคลจะมี

               สัญชาติใดสัญชาติหนึ่งได้นั้น จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของประเทศนั้นบัญญัติไว้ เพราะสัญชาติเป็นสิ่ง

               ไม่มีรูปร่างแต่เป็นเครื่องผูกมัดบุคคลไว้กับประเทศในทางกฎหมายเท่านั้น สัญชาติจึงเป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวบุคคล

               ไว้กับรัฐหนึ่งที่กำหนดขึ้นโดยกฎหมายของรัฐนั้น โดยถือเอาจากการที่รัฐยอมรับในข้อเท็จจริงว่าบุคคลนั้น

               ผูกพันใกล้ชิดกับพลเมืองคนอื่นๆ ของรัฐมากกว่าพลเมืองของรัฐอื่น สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยในการกำหนดสถานะ

               ทางกฎหมายของบุคคลและทำให้บุคคลนั้นเกิดหน้าที่ต่อรัฐที่ตนมีสัญชาติอยู่ อีกทั้งยังทำให้บุคคลมีสิทธิได้รับ

               ความคุ้มครองจากรัฐที่ให้สัญชาติแก่ตนด้วย ฉะนั้นองค์ประกอบของสัญชาติจึงจำแนกออกได้ 3 ประการ คือ
                       1. รัฐเป็นผู้ให้สัญชาติ กล่าวคือรัฐในฐานะที่เป็นนิติบุคคลในทางกฎหมายมหาชนเป็นที่ยอมรับนับถือ

               ของรัฐอื่นว่ามีสิทธิกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสัญชาติของรัฐตน มีสิทธิที่จะวินิจฉัยตามกฎหมายของตนว่าบุคคล

               ใดเป็นคนชาติของตนหรือไม่ และมีสิทธิที่จะดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของคนชาติของตนในส่วนที่

               เกี่ยวกับรัฐอื่น โดยรัฐที่มีอำนาจให้สัญชาติจะต้องเป็นรัฐที่มีเอกราชและมีอธิปไตยเป็นของตนเองโดยบริบูรณ์

               และทั้งเป็นที่ยอมรับนับถือของรัฐอื่นแล้วว่าประเทศนั้นเป็นรัฐ โดยรัฐจะบัญญัติกฎหมายว่าด้วยสัญชาติและ
               วางหลักเกณฑ์ในเรื่องการได้สัญชาติและเสียสัญชาติของบุคคลไว้ กฎหมายว่าด้วยสัญชาติจึงมีลักษณะเป็น

               กฎหมายนโยบายทางการเมืองขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองแต่ละยุคแต่ละสมัย

                       2. บุคคลเป็นผู้รับสัญชาติ  กล่าวคือผู้จะได้รับสัญชาตินั้น โดยทั่วไปได้แก่ บุคคลธรรมดาและนิติ

               บุคคลที่เกิดขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ สำหรับบุคคลโดยทั่วไปย่อมมีสัญชาติหนึ่ง เช่น คนไทยย่อมมีสัญชาติ

               ไทย ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้แก่พลเมืองของตน เพื่อเป็นเครื่องผูกพันพลเมืองไว้กับประเทศและสัญชาติยัง

               เป็นเครื่องหมายแสดงว่าบุคคลนั้นเป็นสมาชิกของประเทศใดประเทศหนึ่ง และยังเป็นเครื่องจำแนกสิทธิและ

               หน้าที่ต่าง ๆ ระหว่างคนในสัญชาติกับคนต่างด้าวอีกด้วย นอกจากบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่เป็นผู้รับ
               สัญชาติแล้ว สิ่งที่ไม่ใช่บุคคลก็อาจมีสัญชาติได้ เช่น เรือ เครื่องบิน เป็นต้น เพื่อแสดงว่าสิ่งของนั้นผูกพันอยู่กับ

               ดินแดนของประเทศเจ้าของ และได้รับความคุ้มครองตามที่กฎหมายของประเทศนั้นบัญญัติไว้

                       3. สัญชาติเป็นสิ่งผูกพันระหว่างรัฐกับบุคคล กล่าวคือ สัญชาติเป็นสิ่งผูกพันระหว่างบุคคลกับรัฐเพราะ

               รัฐย่อมจะต้องประกอบขึ้นด้วยพลเมือง ถ้าไม่มีพลเมืองของตนเองย่อมขาดลักษณะของการเป็นรัฐตามหลัก
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28