Page 16 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 16
9
บทที่ 2 ทบทวนวรรณกรรม
การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย นโยบาย แนวปฏิบัติของหน่วยงาน และงานวิจัยที่
เกี่ยวข้องกับประเด็นคนไทยพลัดถิ่น คณะผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อ คือ 2.1 แนวคิดสิทธิมนุษยชน
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดสถานะบุคคล 2.3 นโยบายของภาครัฐเกี่ยวกับสถานะของคนไทยพลัดถิ่น
2.4 กฎหมาย/ประกาศ/คำสั่ง/หนังสือสั่งการเกี่ยวกับการจัดการปัญหาสถานะบุคคลของคนไทยพลัดถิ่น และ
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นคนไทยพลัดถิ่น
2.1 แนวคิดสิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Rights) คือแนวคิดที่มีรากฐานมากจากความเชื่อ ปรัชญา คำสอนทางศาสนา
4
ศีลธรรมและจริยธรรมของสังคมและวัฒนธรรมต่างๆ ในโลกที่เชื่อว่ามนุษย์ที่เกิดมาทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่
ซึ่งนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2488 และมีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติเป็นต้นมา คำว่า
สิทธิมนุษยชนจึงเป็นที่รู้จักและถูกใช้แพร่หลายทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับนานาประเทศ ซึ่งทาง
สหประชาชาติก็ได้มีความพยายามที่จะคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสงบ
สุขมีสันติภาพเกิดขึ้นบนโลกนี้ จึงได้มีการกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็น
มาตรฐานเบื้องต้นในการให้ประชาคมโลกนำไปปฏิบัติ โดยในกฎบัตรสหประชาชาติได้กล่าวถึงสิทธิมนุษยชนไว้
ในหลายมาตราด้วยกัน เช่นในอารัมภบทได้กล่าวถึงความมุ่งหมายสหประชาชาติไว้ว่า “เพื่อเป็นการยืนยันและ
5
ให้การรับรองถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ในศักดิ์ศรีและคุณค่าของมนุษยชาติ”
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) ถือว่าเป็นแม่บท
ของสิทธิมนุษยชน เพื่อการประกาศเจตนารมณ์ในการรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และเป็นเอกสารหลัก
ด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรกที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491
โดยประเทศไทยได้ออกเสียงสนับสนุนด้วย ซึ่งต่อมาองค์การสหประชาชาติได้มีการออกกฎบัตรสหประชาชาติ
6
บทหรือมาตราที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างชัดเจนอยู่หลายข้อ รวมทั้งการจัดตั้งกลไกต่าง ๆ เพื่อ
ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนรวมถึงมีการพัฒนามาโดยตลอด จนได้มีการรับรองกฎหมายระหว่าง
ประเทศเกี่ยวกับด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ กติการะหว่างประเทศ อนุสัญญา รวมทั้งแนวปฏิบัติ
4 Amnesty International Thailand, สิทธิมนุษยชนคืออะไร, เว็บไซต์ http://old.amnesty.or.th/our-work/human-
rights-education/about, สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม 2564.
5 ศุภรา ศรีปริวาทิน, แนวคิดและหลักการของสิทธิมนุษยชน, เว็บไซต์ https://policetraining9.com /index.php/
data/คลังความรู้/2019-10-29-03-58-19/222-2020-07-17-02-30-56.html , สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม 2564.
6 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, (กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิ
มนุษยชนแห่งชาติ, 2556).