Page 18 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 18

11


                       2.1.1 แนวคิดสิทธิมนุษยชนกับประเด็นเรื่องสัญชาติ

                       ในประเด็นเรื่องสัญชาตินั้นตามอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยเรื่องสัญชาติ ค.ศ. 1930 มาตรา 1 กำหนดว่า

               “ให้รัฐแต่ละรัฐวางข้อกำหนดกฎหมายของตนว่าบุคคลใดถือเป็นพลเมืองของรัฐ โดยรัฐอื่นยอมรับกฎหมาย

               ดังกล่าวตราบเท่าที่สอดคล้องกับหลักการตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ ประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศและ
               หลักกฎหมายอันเป็นที่ยอมรับโดยสากลในเรื่องสัญชาติ” ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับประเด็นเรื่องสัญชาติได้ค่อยๆ

               พัฒนาขึ้นโดยเน้นถึงความสำคัญต่อสิทธิมนุษยชน มากกว่าการกล่าวอ้างเรื่องอำนาจอธิปไตยของรัฐ ปรากฏ

               ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 มาตรา 15 กำหนดว่า “บุคคลทุกคนมีสิทธิในการถือ

               สัญชาติ การถอนสัญชาติโดยพลการหรือการปฏิเสธในการเปลี่ยนสัญชาติจะกระทำมิได้” เพื่อเป็นการ

               รับรองความผูกพันทางกฎหมายของมนุษย์ทุกคนอันพึงมีต่อรัฐ เนื่องจากการเป็นพลเมืองและการมีสัญชาตินั้น
               ไม่เพียงแต่จะทำให้พลเมืองเกิดสำนึกในที่มาของตน แต่ยังก่อให้เกิดสิทธิแก่บุคคลในการได้รับการคุ้มครองจาก

               รัฐในสิทธิต่างๆ ทางสังคมและการเมือง ซึ่งโดยแท้จริงแล้วการมีสิทธิในการเป็นพลเมืองหรือการมีสัญชาตินั้น

               ได้ถูกให้ความหมายว่าเป็น “สิทธิในการมีสิทธิ”

                       ฉะนั้นการมีสัญชาติของรัฐหนึ่งนั้นโดยแท้จริง จึงขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์โดยชอบระหว่างบุคคลกับรัฐ

               นั้น ๆ ซึ่งความสัมพันธ์อันแท้จริงและโดยชอบระหว่างบุคคลต่อรัฐ เกิดขึ้นจากการถือกำเนิด การมีถิ่นที่อยู่

               อาศัยและ/หรือการสืบสายโลหิต โดยหลักการนี้สะท้อนอยู่ในมาตราของกฎหมายสัญชาติของรัฐเกือบทุก
               ประเทศ  คำว่า“สัญชาติ” ตามคำจัดความของ The American Court of Human Right หมายถึง “ความ

               ผูกพันทางการเมืองและทางกฎหมายรวมถึงความซื่อสัตย์และความจงรักภักดี ซึ่งเชื่อมโยงบุคคลเข้าไว้กับรัฐที่

                                                                                   9
               ให้สัญชาติ โดยรัฐให้สิทธิแก่บุคคลดังกล่าวในการได้รับความคุ้มครองทางการทูต”   และเพื่อเป็นการยืนยันว่า
               บุคคลทุกคนมีสิทธิได้สัญชาติและจะไม่เสียสิทธิขั้นพื้นฐานในการได้สัญชาติ ประชาคมนานาชาติจึงได้มีการ

               พัฒนาสนธิสัญญาขึ้นมาสองฉบับ ได้แก่อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของผู้ลี้ภัย ค.ศ.1951 และอนุสัญญาว่าด้วย

               สถานภาพของบุคคลไร้สัญชาติ ค.ศ. 1954
                       ตามอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพของบุคคลไร้สัญชาติ ค.ศ. 1954 บุคคลไร้สัญชาติ หมายถึง “บุคคลซึ่ง

               ไม่ได้รับการพิจารณาให้เป็นพลเมืองภายใต้ผลของกฎหมายของรัฐใดๆ (de jure stateless)” และการที่บุคคล

               หนึ่งจะได้รับการพิจารณาให้ถือสัญชาติตามผลของกฎหมายนั้น คือบุคคลนั้นจะได้รับการพิจารณาให้มีสถานะ

               พลเมืองภายใต้ข้อกำหนดทางกฎหมายที่วางไว้ ซึ่งอาจปรากฏอยู่ในรูปแบบของกฎหมายรัฐธรรมนูญ คำสั่งของ

               ประมุขของรัฐหรือกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ อย่างไรก็ดีบุคคลโดยส่วนใหญ่จะมีเพียงหนึ่งสัญชาติโดยอัตโนมัติ
               จากประเทศที่บุคคลนั้นถือกำเนิด(jus soli) หรือจากประเทศที่บิดามารดาของบุคคลนั้นถือสัญชาติอยู่ (jus

               sanguinis)  และในการยื่นขอสัญชาติ ผู้ร้องขอเข้าเป็นพลเมืองยังไม่สามารถได้สัญชาติจนกว่าจะได้รับอนุมัติ




               9  Marilyn Achiron(UNHCR), สัญชาติและการไร้สัญชาติ คู่มือสำหรับสมาชิกรัฐสภา, (ประเทศไทย: บริษัทโชคอนันต์การ
               พิมพ์แบะบรรจุภัณฑ์จำกัด, 2553), น.6-30
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23