Page 24 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 24

17


               กฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งพลเมืองยังเป็นสิ่งจำเป็นแก่รัฐในด้านการป้องกันและด้านการสร้างสรรค์ความ

               เจริญรุ่งเรืองในทางเศรษฐกิจ ส่วนบุคคลก็ย่อมมีความประสงค์ที่จะมีแหล่งที่อยู่อาศัยและให้สิทธิ ให้ความ

               คุ้มครองแก่ตน นอกจากนี้สัญชาติยังเป็นความจำเป็นระหว่างประเทศ ที่รัฐจะวางกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศขึ้น

                                            17
               ผ่านจารีตประเพณีระหว่างประเทศ
                       ตามกฎหมายระหว่างประเทศทั่วไปของนานาประเทศ จะยอมรับการออกกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของ

               ตนตกอยู่ภายในขอบเขตอำนาจภายในของรัฐโดยแท้ รัฐจึงมีเสรีภาพในการกำหนดการได้สัญชาติของตนหรือ

               การเสียสัญชาติของตน ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศไม่มีข้อกำหนดให้รัฐต้องใช้ข้อเท็จจริงใดในการกำหนดการ

               ได้สัญชาติของตนหรือการเสียสัญชาติของตน ทั้งนี้รัฐจะกำหนดให้สัญชาติของตนโดยใช้ข้อเท็จจริงที่แสดงถึง

               ความสัมพันธ์อย่างแท้จริง (Genuine Link) ระหว่างรัฐผู้ให้สัญชาติและเอกชนผู้ได้รับสัญชาติ ซึ่งในทางปฏิบัติ
               รัฐมักจะใช้ข้อเท็จจริงในการกำหนดสัญชาติมีอยู่ 2 หลัก คือ หลักสืบสายโลหิต (Jus sanguinis)คือการได้

               สัญชาติของบุคคลขึ้นอยู่กับสัญชาติของบิดามารดาและหลักดินแดน (Jus soli ) คือ รัฐเจ้าของดินแดนจะเป็นผู้

               พิจารณาให้สัญชาติแก่บุคคลที่เกิดในดินแดนของรัฐดังกล่าวภายใต้หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กฎหมายได้

               กำหนด
                      18
                       2.2.2 หลักการได้มาซึ่งสัญชาติไทยตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508

                       ในอดีตก่อนพ.ศ.2454 ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกฎหมายสัญชาติไทย ทำให้ความเป็นไทย

               ไม่ได้กะเกณฑ์ด้วยสัญชาติ เนื่องจากในยุคนั้นแนวคิดว่าด้วยสัญชาติยังไม่ได้เกิดขึ้น แต่ความเป็นไทยวัดด้วย
               ความผูกพันที่บุคคลมีอยู่ต่อชาติไทย โดยผูกพันหรือมีความเป็นอยู่ร่วมกันภายใต้วัฒนธรรมเดียวกัน ศาสนา

               เดียวกัน เชื้อชาติเดียวกัน การยอมรับนับถือค่านิยมในสังคมอย่างเดียวกัน ย่อมเป็นเครื่องมือที่จะชี้ความเป็น

               ไทยที่แตกต่างไปจากคนต่างด้าวได้ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระ

               มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติแปลงสัญชาติและพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2456 ขึ้น

               ซึ่งต่อมาก็ได้มีการยกเลิก โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
                                                           19
                        พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ.2508  ซึ่งต่อมาในปีพ.ศ.2515 ก็ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337

               เกิดขึ้น เพื่อถอนสัญชาติไทยของบุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามา
               อยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือบิดาหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้า

               มาในอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่เพียงชั่วคราว หรือเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย บุคคลเหล่านี้แม้



               17  กมล สนธิเกาตริน, คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณาการ,

               2539) อ้างใน สุวิมล อิสริยานนท์, แนวทางในการคุ้มครองสิทธิทางกฎหมายของคนไร้สัญชาติไทย : ศึกษากรณีการให้สิทธิและ
               สถานภาพทางสัญชาติแก่คนไร้รากเหง้า, (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร
               ศาสตร์, 2558), น.7-34

               18  พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร, คำอธิบายกฎหมายสัญชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2548), น.40
               19  ชุมพร ปัจจุสานนท์, กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เล่ม 1, พิมพ์ครั้งที่ 2 (กรุงเทพฯ:วิญญูชน, 2549), น.52
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29