Page 22 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 22
15
(2) บุคคลไร้รากเหง้าที่ไม่ได้เกิดในประเทศไทย ได้แก่ บุคคลที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยพร้อมบิดา
มารดา แต่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลงกับบิดามารดาตั้งแต่วัยเยาว์
(3) บุคคลไร้รากเหง้าที่ไม่อาจพิสูจน์สถานการณ์เกิดได้ เช่น เด็กเร่ร่อนหรือเด็กที่พลัดหลงจาก
ผู้ปกครองและไม่สามารถแจ้งข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของบ้านที่อยู่อาศัย ข้อมูลตามหลักฐาน
ทะเบียนราษฎรเกี่ยวกับบิดาและญาติพี่น้อง หรือบุคคลที่ตกหล่นทางทะเบียนราษฎร มีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่
บ่อยครั้งหรือมีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง หรือบุคคลที่ติดตามบิดามารดาไปอยู่ท้องที่อื่นตั้งแต่ไร้เดียงสาไม่มี
ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการเกิดของตน หรือเด็กที่ถูกลักพาตัวไปจากผู้ปกครองเป็นเวลานาน ติดตามหาบิดา
มารดาไม่พบ เป็นต้น โดยบุคคลในสถานการณ์ดังกล่าวมักประสบปัญหาการขาดพยานหลักฐานที่สามารถ
ยืนยันหรือพิสูจน์สถานะการเกิดและสัญชาติ วิธีการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลและสัญชาติของเด็กหรือบุคคล
กลุ่มนี้
สำหรับปัญหาของคนไร้รากเหง้าในประเทศไทย ในการพิสูจน์จุดเกาะเกี่ยวโดยการเกิดจากบุพการีนั้น
จึงแบ่งได้ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กลุ่มแรก คนไร้รากเหง้าโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่มีความทรงจำใดๆ
เกี่ยวกับสถานที่เกิดหรือบิดามารดาเลย อาจเป็นกลุ่มคนที่ถูกทอดทิ้งหรือพลัดหลงจากบุพการีตั้งแต่วัยเยาว์
และกลุ่มที่สอง คนไร้รากเหง้าเพราะไม่อาจพิสูจน์ทราบถึงความมีอยู่ของรากเหง้า ซึ่งหมายถึงกลุ่มคนที่จำได้ว่า
ตัวเองเกิดที่ไหน บุพการีคือใคร แต่ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ถึงรากเหง้าของตนได้
15
ฉะนั้นจากแนวคิดสิทธิมนุษยชนกับประเด็นเรื่องสัญชาติตามข้างต้น กล่าวได้ว่าการมีสัญชาติของ
บุคคลเป็นสิทธิอันสำคัญของมนุษย์ที่ทุกคนพึงมีต่อรัฐ เนื่องจากการมีสัญชาตินั้นเป็นสิทธิในการมีสิทธิต่างๆ
ของบุคคลในฐานะพลเมืองของรัฐนั้นๆ ซึ่งการไม่มีสัญชาติของรัฐใดเลยหรือการไม่ถูกยอมรับว่าเป็นบุคคลตาม
กฎหมายของรัฐใดๆ ในโลกเรียกว่า “คนไร้รัฐ” และเมื่อได้รับการบันทึกว่าเป็นประชากรของรัฐใดรัฐหนึ่งแล้ว
แต่ยังไม่สามารถขอสัญชาติได้ของประเทศนั้นๆ ได้ก็จะใช้คำว่า “คนไร้สัญชาติ” รวมถึงบุคคลที่ไม่ทราบว่า
ตนเองมีใครเป็นผู้ให้กำเนิดถูกเรียกว่า “คนไร้รากเหง้า” กลุ่มบุคคลต่างๆเหล่านี้ สามารถพัฒนาสถานะให้
ได้รับการมีหรือได้ “สัญชาติไทย” ในลักษณะต่างๆกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ คือกฎหมาย นโยบายของรัฐและ
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการประกอบการพิจารณา ซึ่งในกรณีของคนไทยพลัดถิ่นเองก็ถือว่าเป็นบุคคลไร้
16
สัญชาติเนื่องจากไม่มีรัฐใดยอมรับในฐานะพลเมือง และสามารถพัฒนาสถานะให้มีสัญชาติไทยได้โดยการ
15 อัจฉรา สุทธิสุนทรินทร์, ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการรับรองสถานะบุคคลให้แก่คนไร้รากเหง้า , เว็บไซต์
http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6124011247/1614049919437a6ad18a10bdbe4b492ddd321d3ac3
_abstract.pdf, สืบค้นวันที่ 20 ธันวาคม 2564
16 วีนัส สีสุข, ยินดี ห้วยหงส์ทองและมานะ งามเนตร์, แนวปฏิบัติในการกำหนดสถานะบุคคล, (กรุงเทพฯ: บริษัท อันลิมิต
พริ้นติ้ง จำกัด, 2560), น.1