Page 17 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 17
10
7
ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ซึ่งรัฐสมาชิกมีพันธกรณีตามกฎหมายและ/หรือทางจริยธรรมที่จะต้องปฏิบัติตาม
ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้มีการจำแนกประเภทของสิทธิมนุษยชน (Human Rights) ไว้ 5
ประเภท ได้แก่
1. สิทธิพลเมือง (Civil rights) ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต การไม่
ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติเป็นต้น
2. สิทธิทางการเมือง (Political rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็น
ประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการ
เลือกตั้งอย่างเสรี
3. สิทธิทางสังคม (Social rights) ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา การได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ
การได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ การได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครองและ
สร้างครอบครัว เป็นต้น
4. สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic rights) ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ การได้เลือกงานอย่างอิสระและ
ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
5. สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural rights) ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายใน
ภาษาท้องถิ่นของตน การมีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
ของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิงได้โดยไม่มี
ใครมาบีบบังคับ เป็นต้น
8
สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิก ก็ได้นำหลักการตามปฏิญญาสากลดังกล่าวเข้าสู่
ระบบกฎหมายภายในตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและ
สิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights-ICCPR), อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิ
เด็ก (Convention on the Rights of the Child-CRC), อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือก
ปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ (International Convention on the Elimination of All Forms of
Racial Discrimination- ICERD), อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination against Women-CEDAW) เป็นต้น
7 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเเห่งชาติ, แนวปฏิบัติ มาตรฐาน และกฎหมายระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน,
เว็บไซต์ https://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge/International-Human-Rights-Affairs/International-
Human-Rights-Instruments.aspx, สืบค้นวันที่ 5 ธันวาคม 2564
8 ชำนาญ จันทร์เรือง, สิทธิมนุษยชนที่คนไทยรุ่นใหม่ควรรู้, (กรุงเทพฯ: บุ๊คเวิร์ม, 2551), น.12-13