Page 20 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 20
13
ภูมิลำเนาโดยผลที่สุดเขาก็จะมี “รัฐเจ้าของตัวบุคคล” (Personal State) เขาย่อม ไม่ใช่ “คนไร้รัฐ”
(Stateless Persons) แต่ยังคงมีข้อเสียตรงที่ว่า บุคคลนั้นจะเป็นคนต่างด้าวในสายตาของทุกประเทศบนโลก
ฉะนั้นคนไร้รัฐ (Stateless Persons) จึงได้แก่บุคคลที่ไม่มีข้อเท็จจริงอันจะทำให้ได้สัญชาติของรัฐใดเลย และ
ไม่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศ ซึ่งก็คือไม่อาจเป็นคนชาติของรัฐใดเลยบนโลก รวมทั้งไม่อาจตั้ง
บ้านเรือนอาศัยอยู่ในประเทศใดเลยบนโลก และยังเป็นคนต่างด้าว (Aliens) เป็นคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย
สำหรับทุกรัฐ เป็นคนเถื่อน คนผิดกฎหมายสำหรับทุกดินแดน โดยคนไร้สัญชาติมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
กล่าวคือ ประเภทแรก คนไร้สัญชาติที่ไม่ไร้ภูมิลำเนา หมายถึง ยังไม่ไร้รัฐแต่เป็นคนต่างด้าวสำหรับทุกรัฐ และ
ประเภทที่สอง คนไร้สัญชาติที่ไร้ภูมิลำเนา หมายถึง การเป็นคนไร้รัฐโดยไม่มีสถานะบุคคลตามกฎหมายทุกรัฐ
ในประเทศไทยปรากฏว่ามีทั้งคนไร้สัญชาติที่ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราวตามกฎหมายไทย (คนไร้สัญชาติ
ที่ไม่ไร้ภูมิลำเนา) และคนไร้สัญชาติที่ยังไม่ได้รับสิทธิอาศัยตามกฎหมาย (คนไร้สัญชาติที่ไร้ภูมิลำเนา) เพราะ
เหตุนี้ตามบริบทของประเทศไทยจึงมีการให้ความหมาย “ไร้รัฐ” และ“ไร้สัญชาติ” แตกต่างกันโดย “คนไร้
รัฐ” หมายถึงบุคคลผู้ไม่มีเอกสารแสดงตนใดๆ และไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนในระบบการทะเบียนราษฎร ส่วน
“คนไร้สัญชาติ” หมายถึงบุคคลไร้รัฐที่ได้ขึ้นทะเบียนในระบบการทะเบียนราษฎรและมีเอกสารแสดงตน
12
สำหรับประเทศไทยปัญหาของคนไร้สัญชาติมีแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะดังนี้
(1) ความไร้สัญชาติเพียงด้านข้อเท็จจริง (De facto Stateless) กล่าวคือประการแรกความไร้สัญชาติ
ที่เกิดขึ้นในกรณีที่บุคคลไม่อาจพิสูจน์ความเกาะเกี่ยวกับรัฐใดในโลก จึงไม่อาจกำหนดสัญชาติได้เลย จึงตกเป็น
คนไร้สัญชาติ และประการที่สอง ความไร้สัญชาติที่เกิดขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้นเชื่อว่าและอ้างว่า ตนมีข้อเท็จจริง
ที่ทำให้ได้สัญชาติไทยแต่เจ้าหน้าที่ของรัฐไทยเองปฏิเสธที่จะเชื่อในข้อเท็จจริงที่บุคคลกล่าวอ้าง
(2) ความไร้สัญชาติทั้งด้านข้อกฎหมาย (De Jure Stateless) กล่าวคือโดยข้อเท็จจริงแห่งตัวบุคคล
นั้น ไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายของประเทศไทยยอมรับให้สัญชาติแก่บุคคลนี้ ผลที่เกิดขึ้นก็คือบุคคลไม่มีสัญชาติ
ไทยและสัญชาติของประเทศอื่นใดในโลก ความไร้สัญชาติโดยข้อกฎหมายนี้เกิดขึ้นได้ ประการแรกความไร้
สัญชาติที่เกิดแก่บุคคลที่เกิดในประเทศไทยจากบุพการีที่เกิดนอกประเทศไทย และประการที่สอง ความไร้
สัญชาติที่เกิดแก่บุคคลที่เกิดนอกประเทศไทยจากบุพการีที่เกิดนอกประเทศไทย
ปัญหาความไร้รัฐที่เกิดแก่บุคคลธรรมดา จำแนกออกเป็น 4 ประเภท คือ
1) ปัญหาความไร้รัฐที่เกิดแก่ชุมชนพื้นเมือง ชนพื้นเมืองเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่
ดั้งเดิม ตามหลักกฎหมายสัญชาติบุคคลเหล่านี้ย่อมได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด แต่ในปัจจุบันยังพบว่า มีชน
พื้นเมืองในหลายพื้นที่ตกเป็นคนไร้รัฐ โดยสาเหตุจากการขาดเอกสารในการพิสูจน์ตัวบุคคลที่ออกโดยรัฐไทย
12 UNHCR ประเทศไทย, ภาวะรัฐไร้สัญชาติคืออะไร, เว็บไซต์ https://www.unhcr.or.th/sites/default/files/u11
/%28th%29What%20is%20Statelessness.pdf, สืบค้นวันที่ 10 ธันวาคม 2564