Page 25 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการจัดทำข้อเสนอแนะ มาตรการหรือแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
P. 25
18
จะมีสัญชาติไทย แต่ก็มิได้มีความจงรักภักดีต่อประเทศไทย เพื่อป้องกันและรักษาความมั่นคงแห่งชาติสมควร
ไม่ให้บุคคลดังกล่าวมีหรือได้สัญชาติไทยอีกต่อไป
ต่อมาแม้ว่าได้มีการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ตามผลของการแก้ไขพระราชบัญญัติ
20
สัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 แต่หลักการของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดน ก็ยังคงเป็น
การให้สัญชาติไทยอย่างมีเงื่อนไขอยู่เช่นเดิม กล่าวคือ ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะไม่ได้สัญชาติไทยโดยการ
เกิดถ้ามีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวที่เข้าเมืองชั่วคราวหรือเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเงื่อนไขตาม
หลักการของการได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามหลักดินแดนดังกล่าวยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการจะให้
สัญชาติไทยกับบุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทยนั้น ก็ยังเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย และจะให้ได้เฉพาะบุคคลที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ซึ่งเป็นไป
ตามมาตรา 7 ทวิ วรรคสองแห่ง พ.ร.บ.สัญชาติพ.ศ.2508 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ซึ่งต่อมาก็ได้มี
การแก้ไขพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2535 เกี่ยวกับเรื่องสละสัญชาติไทยของ บุคคลผู้มีสัญชาติ
21
ไทยและได้สัญชาติอื่นด้วยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติของบิดา หรือบุคคลที่ได้สัญชาติไทยจากการแปลง
สัญชาติของบิดามารดา
22
และในปีพ.ศ. 2551 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 เกี่ยวกับ
การได้สัญชาติโดยการเกิด เนื่องจากมีผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทยเป็นจำนวนมากซึ่งมีบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย
แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทยโดยการเกิด เพราะบิดามิได้สมรสกับมารดาของผู้เกิดหรือมิได้จดทะเบียนรับรองผู้เกิด
นั้นเป็นบุตร อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยสัญชาติที่ใช้บังคับอยู่มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักความ
เสมอภาคระหว่างชายหญิงที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรับรองไว้ และไม่มีกลไกในการกลั่นกรอง
เสนอแนะหรือให้ความเห็นประกอบการพิจารณา และการใช้อำนาจของรัฐมนตรีในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญชาติ อีก
ทั้งอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติยังไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ จึงมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของ
กฎหมายว่าด้วยสัญชาติให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสัญชาติมาแล้วถึง 4 ฉบับ แต่กฎหมายดังกล่าว
ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสัญชาติของคนไทยพลัดถิ่นได้ จึงทำให้เกิดการเรียกร้องและผลักดันให้มีการ
แก้ไขกฎหมายในพระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2555 เพื่อแก้ไขปัญหาสัญชาติให้คนไทยพลัดถิ่นซึ่ง
23
เป็นคนเชื้อสายไทยที่ต้องกลายเป็นคนในบังคับของประเทศอื่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของ
ราชอาณาจักรไทย โดยให้สัญชาติไทยโดยการเกิดแก่บุคคลดังกล่าวที่ยังไม่ได้ถือสัญชาติของประเทศอื่น และได้
อพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง และมีวิถีชีวิตเป็นคนไทยโดยได้รับการสํารวจตาม
20 หมายเหตุ ,พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
21 หมายเหตุ, พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2535
22 หมายเหตุ, พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
23 หมายเหตุ, พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555