Page 78 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 78
ในการประเมินแผน NAPs ของประเทศต่าง ๆ นั้น เอกสารฉบับนี้ได้อาศัยเครื่องมือที่เรียกว่า NAPs
Checklist ซึ่งพัฒนาโดย The Danish Institute for Human Rights (DIHR) ร่วมกับ The International
Corporate Accountability Roundtable (ICAR) ประกอบไปด้วยเกณฑ์การพิจารณาทั้งสิ้น 25 ข้อย่อยเพื่อ
ตอบประเด็นคำถามหลัก 2 ประเด็น คือ ประเด็นเนื้อหาของแผน NAPs และประเด็นขั้นตอนในการพัฒนา
แผน NAPs ทั้งนี้ ใน 25 ข้อย่อยมีสาระสำคัญดังนี้
หมวดหมู่เกณฑ์การพิจารณา รายละเอียดเกณฑ์การพิจารณาย่อย
1. การกำกับดูแลและทรัพยากร
ภาวะความเป็นผู้นำและความเป็น 1.1 ความมุ่งมั่นในขั้นตอนในการพัฒนาแผน NAPs
เจ้าของสำหรับขั้นตอนการพัฒนาแผน 1.2 รับรองให้มีและสื่อสารเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อขั้นตอน
NAPs ในการพัฒนาแผน NAPs อย่างชัดเจน
1.3 รับรองให้มีแนวทางที่ครอบคลุมกับทุก ๆ สายงาน
รับผิดชอบของรัฐบาล
1.4 คิดค้นและผลิตเพื่อเผยแพร่ข้อกำหนดและกรอบเวลาของ
ผู้พัฒนาแผน NAPs
การมีทรัพยากรที่เพียงพอ 1.5 กำหนดงบประมาณที่เพียงพอสำหรับขั้นตอนในการพัฒนา
แผน NAPs
2. การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
การมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพโดย 2.1 จัดทำและผลิตเพื่อเผยแพร่การจัดกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2.2 พัฒนาและผลิตเพื่อเผยแพร่แผนและกรอบเวลาที่ชัดเจน
สำหรับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
2.3 จัดหาข้อมูลที่เพียงพอและการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็น
2.4 ประสานงานการมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ไร้พลัง
อำนาจและกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ
2.5 พิจารณาให้มีกลุ่มผู้รับผิดชอบหรือคณะกรรมการให้
คำปรึกษาเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสีย
3. การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติ
การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติใน 3.1 ดำเนินการการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติในขั้นแรก
ฐานะที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของแผน ของขั้นตอนในการพัฒนาแผน NAPs
NAPs
3.2 จัดสรรภารกิจเพื่อพัฒนาการประเมินข้อมูลพื้นฐาน
ระดับชาติให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เหมาะสม
3.3 ดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ใน
การพัฒนาการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติ
18