Page 80 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 80
2.4 (ร่าง) แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
9
ประเทศไทยกำลังดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ซึ่ง
จัดทำโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ร่างดังกล่าวเกิดขึ้นจากความริเริ่มของรัฐบาล
ที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จำเป็น และเร่งด่วนในการแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันเป็นผลจากการ
ประกอบธุรกิจที่ละเมิดและได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ โดยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อรัฐบาลถึงแนวทางการจัดตั้งกลไกหรือกำหนด
ภารกิจเพื่อกำกับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการพื้นฐานด้านสิทธิ
มนุษยชนโดยนำหลักการ UNGP มาเป็นกรอบในการดำเนินการ
ที่ผ่านมา กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนภายใต้กรม
คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยรวมถึงการแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดแนวทาง
จัดทำ ติดตาม และประเมินผลตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และการการจัด
ประชุมระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Dialogue on Business and Human Rights)
เป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 ครั้งทั่วประเทศรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในระดับพื้นที่ นอกจากนี้
ยังได้มีการจัดประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิ
มนุษยชน และการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนจำนวน 2 ครั้งเพื่ออภิปรายผล
การศึกษา สถานการณ์ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยของภาคประชาสังคม ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและ
ข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงในรายงาน รวมทั้งได้รวบรวมประเด็นที่ได้รับการสะท้อนในที่ประชุมเพื่อเป็นข้อมูล
ประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนต่อไป
ภายหลังการประชุมข้างต้น กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้รวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น และ
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่
ได้จากการลงพื้นที่ ข้อเสนอแนะที่ได้รับเป็นหนังสือ ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ข้อเสนอแนะจากคณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนกับบรรษัทข้ามชาติและองค์กรธุรกิจอื่น ๆ ของสหประชาชาติ
(UN Working Group on the issues of human rights and transnational corporations and other
business enterprises) ข้อมูลจากการประมวลสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งข้อสรุปจากการให้ผู้เข้าร่วม
ประชุมในระดับพื้นที่ และสรุปประเด็นหลัก (Key Priority Area) ที่จะบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการระดับชาติว่า
ด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ได้แก่ 1) แรงงาน 2) ชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม 3) นัก
ปกป้องสิทธิมนุษยชน และ 4) การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ ทั้งนี้ 4 ประเด็นข้างต้นเป็น
ประเด็นที่ได้รับการสะท้อนในหลายพื้นที่ โดยมีลักษณะ รูปแบบ ปัญหา และกิจกรรมที่หลากหลายเกี่ยวข้อง
กับบุคคล ชุมชน และสังคมในวงกว้าง อีกทั้งประเด็นยังมีความซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับมิติทั้งภายในและ
ภายนอกประเทศ
9 สืบเนื่องจากการที่แผนปฏิบัติการดังกล่าวอยู่ในกระบวนการจัดทำระหว่างการดำเนินการวิจัย รายละเอียดเพิ่มเติมโปรด
ติดตามจากเว็บไซต์กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม, http://www.rlpd.go.th
20