Page 73 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 73

บทที่ 2

                                                การทบทวนวรรณกรรม





                       ก า ร ป ระเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจ และสิทธิมนุษยชน (National Baseline
               Assessment on Business and Human Rights) ในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่

               เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศนั้น จำเป็นที่จะต้องทำการสำรวจวรรณกรรมของต่างประเทศและของไทย
               ที่เกี่ยวข้องกับกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ได้แก่ หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิ

               มนุษยชนสำหรับธุรกิจของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights:

               UNGP) การประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Baseline Assessment on
               Business and Human Rights) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการจัดทำแผน NAPs ให้แก่รัฐบาลและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

               อื่น ๆ ที่ดำเนินการจัดทำการศึกษาประเมินข้อมูลพื้นฐาน (Baseline study) ขึ้นทั้งในส่วนของการพัฒนาแผน
               และการประเมินแผนภายหลังที่ได้จัดทำแผนดังกล่าว นอกจากนี้ ยังได้ศึกษากรณีเครื่องมือในการจัดทำแผน

               NAPs ในต่างประเทศจากปัญหาด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชนผ่านการทบทวนวรรณกรรมและเอกสาร มี

               รายละเอียดดังนี้




               2.1  หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (Guiding Principles on Business

               and Human Rights)
                                     6


                       หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on
               Business and Human Rights) ริเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2554 เป็นเอกสารที่จัดทำและเผยแพร่โดยสำนักงาน

               ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (The Office of the United Nations High Commissioner
               for Human Rights หรือ OHCHR) โดยการสนับสนุนของเลขาธิการ สหประชาชาติ กระบวนการจัดทำใช้

               เวลา 6 ปี โดยมีศาสตราจารย์ John Ruggie จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในฐานะผู้แทนพิเศษของเลขาธิการ

               สหประชาชาติ เป็นผู้จัดทำ


                       หลักการชี้แนะนี้ใช้เป็นกรอบสำหรับรัฐในการกำกับดูแลให้ภาคเอกชนเคารพสิทธิมนุษยชน ด้วยการ
               จัดทำ ‘พิมพ์เขียว’ สำหรับบริษัทต่าง ๆ ในการจัดการความเสี่ยงในการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ไม่พึงประสงค์

               โดยได้รับการสนับสนุนจากภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม เช่นเดียวกับจากภาครัฐส่วนต่าง ๆ มีองค์กร

               ระหว่างประเทศและระดับภูมิภาคร่วมให้ความเห็น โดยวางอยู่บนหลัก 3 ประการ คือ



               6  รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู United Nations Human Rights Office of the High Commissioner. (2011). Guiding
               Principles on Business and Human Rights: Implementing the United Nations “Protect, Respect and
               Remedy” Framework.
                                                            13
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78