Page 74 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 74

1)  การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect) โดยรัฐมีหน้าที่ในการคุ้มครองไม่ให้มีการละเมิด

                          สิทธิมนุษยชนจากองค์กรของรัฐหรือบุคคลที่สาม ซึ่งหมายรวมถึงองค์กรภาคธุรกิจด้วย


                       2)  การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect) องค์กรและบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์กรภาคธุรกิจ มี
                          หน้าที่ในการเคารพสิทธิมนุษยชน


                       3)  การเยียวยา (Remedy) เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น รัฐจะต้องจัดให้มีการเยียวยาที่

                          เหมาะสม รวมทั้งเรียกร้องให้องค์กรภาคธุรกิจควรจัดให้มีช่องทางในการร้องเรียนและเยียวยา
                          เมื่อมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นด้วย ไม่ว่าโดยกิจการนั้นเอง หรือการรวมกลุ่มองค์กรภาค

                          ธุรกิจที่เกี่ยวข้องที่ได้รวมกันเป็นสมาคมธุรกิจ นอกจากจะเป็นมาตรฐานสากลในการคุ้มครองสิทธิ
                          มนุษยชนแล้ว ยังเป็นการชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันจะเกิดจากการ

                          ประกอบธุรกิจ (United Nations Human Rights Office of the High Commissioner,

                          2011)


                       หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนได้นำเสนอหลักการและวิธีการสำหรับบริษัทให้สามารถ
               นำไปใช้เพื่อให้รับผิดชอบทางสิทธิมนุษยชนได้ เพื่อให้ธุรกิจมีแนวทางที่ชัดเจนในการรับผิดชอบทาง

               สิทธิมนุษยชน เนื้อหาของหลักปฏิบัตินี้จำแนกออกเป็น 3 ส่วน สำหรับภาครัฐ ภาคเอกชน และกลไกการ

               เยียวยา

                       สำหรับกลไกการบังคับใช้ เนื่องจากหลักการชี้แนะนี้ใช้เป็นกรอบแนวคิดสำหรับองค์กรต่าง ๆ เพื่อ

               จัดการความเสี่ยงจากผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน และนำเสนอบรรทัดฐานสำหรับผู้มีส่วนได้เสียในการ
               ประเมินการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของภาคเอกชน (United Nations Human Rights Office of the High

               Commission, 2012) โดยสมัครใจเท่านั้น จึงมิได้กำหนดกลไกบังคับในการปฏิบัติที่ชัดเจนแต่อย่างใด


                       อาจกล่าวได้ว่า หลักการชี้แนะนี้เปิดโอกาสให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยพิจารณา

               ถึงผลกระทบขององค์กรต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม มีข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า


                       1)  ไม่ได้ระบุอย่างเฉพาะเจาะจงว่าบริษัทต้องปฏิบัติอย่างไรเพื่อแสดงความรับผิดชอบด้าน
                          สิทธิมนุษยชน เพียงแต่นำเสนอมาตรฐานที่ให้บริษัทนำไปปรับใช้เท่านั้น


                       2)  ไม่รวมการกำกับดูแลอื่น ๆ เช่น แนวปฏิบัติขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International

                          Labour Organization หรือ ILO) รวมทั้งการดำเนินการภายใต้กฎหมายของแต่ละประเทศเข้า
                          มา ทำให้บริษัทไม่สามารถนำหลักปฏิบัติชุดนี้ไปประยุกต์ใช้โดยลำพังอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะ

                          อย่างยิ่ง หากมีกลไกการกำกับดูแลที่ชัดเจนและกว้างขวางกว่า การอ้างว่าตนเองปฏิบัติตาม
                          หลักการนี้ ไม่สามารถปกป้องบริษัทจากการฟ้องร้องทางกฎหมาย หรือการวิพากษ์วิจารณ์ของ

                          สาธารณะได้





                                                            14
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79