Page 83 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 83
ชัดเจนตลอดจนต้องเป็นแนวปฏิบัติให้ยึดถือให้มากขึ้นเพื่อที่ว่าเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับ
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะได้คำนึงถึงเงื่อนไขทางสิทธิมนุษยชนลงในสัญญา การตรวจสอบตาม
สัญญา การกำหนดเกณฑ์พิจารณาและการชำระหนี้ ตลอดจนการรายงานเมื่อผิดสัญญา
ภายหลังสิ้นสุดการประเมินทั้ง 3 ระยะแล้ว คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสกอตแลนด์จัดทำข้อ
ค้นพบและข้อเสนอแนะตามแต่ละเสาหลักของหลักการ UNGP ต่อไป
2.6 Children’s Rights in National Action Plans (NAPs) on Business and
11
Human Rights
ราย ง า น Children’s Rights in National Action Plans (NAPs) on Business and Human
Rights ซึ่งจัดทำโดย The Danish Institute for Human Rights (DIHR), The International Corporate
Accountability Roundtable (ICAR) แ ล ะ The United Nations Children’s Fund ภายใต้ UNICEF
เนื่องจากเด็กเป็นประชากรนับได้ 1 ใน 3 ของประชากรโลกทั้งหมดและมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจโลก
เป็นอย่างมาก เด็กมีความเกี่ยวพันกับธุรกิจในทุก ๆ วัน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะแรงงานในโรงงาน ผู้บริโภคสินค้า
และบริการของตน สมาชิกในชุมชนที่ธุรกิจเข้าไปประกอบกิจการ หรือเป็นแรงงานให้กับครอบครัว ใน
ขณะเดียวกันการเจริญเติบโตของเด็กนั้นคือช่วงวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาและส่งผลให้เด็กหลุดพ้นจาก
ผลกระทบในเชิงลบจากการประกอบธุรกิจได้มากกว่าผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเด็กคือกลุ่มประชากรที่
เปราะบาง แต่ภาคธุรกิจมักจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการ
ประกอบธุรกิจของตน อีกทั้งเด็กยังต้องประสบกับอุปสรรคทางกฎหมาย วัฒนธรรมและในทางปฏิบัติต่าง ๆ ที่
จะให้เสียงของเด็ก ๆ เหล่านี้สะท้อนมายังภาคธุรกิจได้ ข้อกังวลดังกล่าวได้รับการเน้นย้ำโดย ศาสตราจารย์
John Ruggie ที่กล่าวว่า “เด็กคือกลุ่มชายขอบและเปราะบางที่สุดในสังคมและอาจจะได้รับผลกระทบไม่สม
ส่วนอย่างรุนแรงและถาวรอันเนื่องมาจากกิจกรรมทางธุรกิจ การประกอบธุรกิจและความสัมพันธ์ต่าง ๆ”
รายงานฉบับนี้มุ่งหวังที่จะให้คำแนะนำว่าสิทธิของเด็กสามารถที่จะได้รับการแก้ไขในแผน NAPs ได้
อย่างไร รวมทั้งการให้ข้อเสนอแนะทางนโยบายอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวจะไปเสริมหนุน
เครื่องมือในการพัฒนาแผน NAPs ซึ่งจัดทำโดย The Danish Institute for Human Rights (DIHR) และ
The International Corporate Accountability Roundtable (ICAR) ทั้งนี้ ทั้ง 2 องค์กรต่างก็เป็นพันธมิตร
กับ UNICEF เพื่อร่วมกันพัฒนาคำแนะนำดังกล่าว โดยได้อธิบายว่าสิทธิของเด็กควรจะได้รับการพิจารณา
อย่างไรในกระบวนการพัฒนาแผน NAPs และเนื้อหาควรจะเป็นอย่างไรเมื่อต้องกำหนดลำดับความสำคัญของ
แผนปฏิบัติการว่าด้วยสิทธิของเด็ก โดยรายงานฉบับนี้จะประกอบไปด้วยเนื้อหา 2 ส่วนดังนี้
11 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู DIHR, ICAR and UNICEF. (2015). Children’s Rights in National Action Plans (NAPs) on
Business and Human Rights.
23