Page 81 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 81
ใน 4 ประเด็นข้างต้นของรายงานนั้น เมื่อพิจารณาเฉพาะเรื่อง จะมีการอธิบายถึงความก้าวหน้าของ
ประเทศไทยในการดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นความก้าวหน้าทั้งในส่วนที่
เป็นข้อกฎหมาย แนวนโยบายและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ของภาครัฐ นอกจากนั้นยังได้อ้างถึงข้อท้าทายอีกมากที่
ประเทศไทยกำลังประสบและอยู่ในขั้นตอนของการแก้ไขปัญหาเพื่อลดและขจัดข้อท้าทายนั้น ๆ ให้หมดไป
ผ่านแผนปฏิบัติงาน พ.ศ. 2562-2566 และหน่วยงานผู้รับผิดชอบตามที่กำหนดเอาไว้ในแผนดังกล่าว อย่างไรก็
ดี แผนปฏิบัติงาน พ.ศ. 2562-2566 จำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการที่จริงจังและต่อเนื่องเพื่อให้แผนบรรลุผล
ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการส่งเสริมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน
ไปสู่การปฏิบัติทั้งในระยะกลาง (2 ปี) และระยะยาว (5 ปี)
สำหรับการประเมินผลแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนนั้น จะดำเนินการโดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เนื่องจากสอดคล้องกับภารกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว โดยคณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จะต้องจัดทำรายงาน 2 ช่วง คือ ช่วงครึ่งรอบ (พ.ศ. 2564) และช่วงเต็มรอบ (พ.ศ.
2566) เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและเผยแพร่ต่อสาธารณะ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ โดยนำ
รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมข้อมูล ข้อคิดเห็น รวมถึงข้อเสนอแนะจากภาคส่วน
ต่าง ๆ มาพิจารณาเพื่อกำหนดแนวทางปรับปรุงแก้ไขแผนปฏิบัติการระดับชาติ ให้สามารถป้องกันและแก้ไข
ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจในทางปฏิบัติได้จริงและมีความเหมาะสมกับสภาวะด้าน
ต่าง ๆ ของประเทศต่อไป
2.5 Scotland’s National Baseline Assessment on Business and Human
Rights
10
การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจ และสิทธิมนุษยชนของสกอตแลนด์ได้ถูกพัฒนาและ
บังคับใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013-2017 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ UNGP ซึ่งการประเมินดังกล่าวจัดทำโดย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสกอตแลนด์ตามการแต่งตั้งจากรัฐบาลสกอตแลนด์เมื่อปี ค.ศ. 2015 ทั้งนี้
การดำเนินการประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจ และสิทธิมนุษยชนจัดทำขึ้นใน 3 ระยะ แบ่งออกเป็น
ระยะแรก จะเป็นการศึกษาวิจัยจากเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายของประเทศและนานา
ประเทศ ในระยะที่สอง จะเป็นการได้มาซึ่งข้อมูลจากกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียต่าง ๆ ทั้งภาคธุรกิจ รัฐบาล หน่วยงาน
ท้องถิ่นและองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ และระยะสุดท้ายจะเป็นการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือกับกลุ่ม
ดังกล่าวเพื่อยืนยันข้อค้นพบและเผยแพร่ข้อมูลต่อไป
ในการจัดประชุมเพื่อปรึกษาหารือนั้น พบว่ามีรายละเอียดการหารือดังนี้
10 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู Glasgow Council for the Voluntary Sector. (2017). Scotland’s National Baseline
Assessment on Business and Human Rights.
21