Page 77 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 77
บทที่ 7 การตรวจสอบและการทบทวนแผน NAPs
การจัดทำแผน NAPs ของประเทศต่าง ๆ ได้สร้างโอกาสให้กับประเทศและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ ในการ
แบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้จากกันและกัน และเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและกฎหมาย และ
การแทรกแซงอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาและเยียวยาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการประกอบธุรกิจ
องค์ประกอบสุดท้ายของเครื่องมือนี้จะวิเคราะห์ทางเลือกต่าง ๆ ในระดับสากลและในระดับภูมิภาคเพื่อ
ติดตามกระบวนการขั้นตอนของแผน NAPs ซึ่งช่วยให้รัฐและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เข้าใจและเห็นความสำคัญ
ของการเคารพสิทธิมนุษยชนจากการดำเนินการตามแผน NAPs และใช้แผน NAPs เป็นเครื่องมือในการ
ปรับเปลี่ยนนโยบายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น
เอกสารฉบับนี้เป็นการให้ข้อมูลอย่างละเอียดในการจัดทำการดำเนินการ การทบทวนแผน NAPs และ
การดำเนินการประเมินข้อมูลพื้นฐาน (National Baseline Assessments หรือ NBA) โดยอาศัยมาตรฐาน
ระหว่างประเทศมาเป็นตัวกำกับหรือชี้วัดว่ารัฐมีความก้าวหน้าในประเด็นสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ
อย่างไร อีกทั้งยังได้นำเสนอการจัดทำหรืออยู่ในระหว่างการดำเนินการจัดทำแผน NAPs ของประเทศต่าง ๆ
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวสามารถนำมาปรับใช้กับ กสม. เพื่อดำเนินการจัดทำ NBA ก่อนที่จะได้ดำเนินการ
จัดทำแผน NAPs ต่อไป
2.3 Assessments of Existing National Action Plans (NAPs) on Business and
Human Rights
8
เอกสารฉบับนี้ดำเนินการจัดทำโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างองค์กรได้แก่ International
Corporate Accountability Roundtable (ICAR), European Coalition for Corporate Justice (ECCJ),
และ Center for the Study of Law, Justice, and Society (Dejusticia) ซึ่งในปัจจุบันได้มีการสำรวจและ
ทบทวนแผน NAPs ของประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 2014 ถึงปัจจุบัน ซึ่งทำไปแล้ว 11 ประเทศ จาก 18
ประเทศที่ได้มีการพัฒนาและประกาศใช้แผน NAPs ของประเทศไป โดยเรียงลำดับปีได้ดังนี้ สหราชอาณาจักร
และเนเธอร์แลนด์ (ค.ศ. 2013) เดนมาร์คและฟินแลนด์ (ค.ศ. 2014) ลิทัวเนีย สวีเดน นอรเวย์และโคลัมเบีย
(ค.ศ. 2015) สหราชอาณาจักร (ฉบับปรับปรุง) อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน (ค.ศ.
2016) และฝรั่งเศส โปแลนด์ อินโดนีเซีย เบลเยี่ยม สเปนและชิลี (ค.ศ. 2017) ทั้งนี้เอกสารฉบับดังกล่าวจัดทำ
ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ประเมินและจัดทำข้อเสนอแนะที่จำเป็นแก่ประเทศต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการพัฒนา
แผน NAPs ไปแล้ว และเพื่อให้ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับประเทศอื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาแผน NAPs ด้วย
เช่นกัน
8 รายละเอียดเพิ่มเติมโปรดดู ICAR. (2017). Assessments of Existing National Action Plans (NAPs) on Business
and Human Rights.
17