Page 72 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 72

บทที่ 1 บทนำ ฉายภาพให้เห็นหลักการและเหตุผลที่ต้องดำเนินการวิจัยในประเด็นนี้ นำเสนอ

               แนวทางในการปฏิบัติงาน ผ่านกรอบแนวคิด ระเบียบวิธีวิจัย วิธีการดำเนินงาน ขอบเขตของงานวิจัย รวมไป
               ถึงการนำเสนอเค้าโครงเนื้อหาของรายงาน


                       บทที่ 2 การทบทวนวรรณกรรม ทำการสำรวจวรรณกรรมของต่างประเทศและของไทยที่เกี่ยวข้อง
               กับกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ ได้แก่ หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชน

               สำหรับธุรกิจของสหประชาชาติ (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP)

               วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประเมินข้อมูลพื้นฐานด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (National Baseline
               Assessment on Business and Human Rights) ได้แก่ เอกสาร National Actions Plans on Business

               and Human Rights – A Toolkit for the Development, Implementation, and Review of State
               Commitments to Business and Human Rights Frameworks ซึ่งจัดทำโดย The Danish Institute for

               Human Rights (DIHR) ร่วมกับ The International Corporate Accountability Roundtable (ICAR)

               และเอกสาร Scotland’s National Baseline Assessment on Business and Human Rights

                       บทที่ 3 กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่ใน

               ปัจจุบัน แสดงให้เห็นผลการดำเนินงานของภาครัฐในการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบ
               ธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดำเนินงานของ กสม. เพื่อชี้ให้เห็นสถานการณ์และผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

               ที่เกิดขึ้นจากการค้าการลงทุนของประเทศ รวมไปถึงประสิทธิผลของเครื่องมือของรัฐในการสนับสนุนให้มีการ
               ปฏิบัติการตามหลักการ UNGP ณ ปัจจุบัน


                       บทที่ 4  กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็น
               และการวิเคราะห์ช่องว่างในการดำเนินการ ทำการประเมินผลและวิเคราะห์ข้อค้นพบจากสถานการณ์และ

               ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นจากการค้าการลงทุน ผ่านการปรึกษาหารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง อาทิ

               ผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ตัวแทน กสม. ตัวแทนภาคธุรกิจ ตัวแทนภาคประชา
               สังคม และนักกฎหมายด้านธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อทำการเปรียบเทียบกับกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิ

               มนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่เกิดขึ้นและประสบผลสำเร็จในต่างประเทศ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจว่า

               กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็นนั้นควรเป็นเช่นไร และ
               ยังมีช่องว่างของกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่มีอยู่ในปัจจุบัน

               อย่างไร โดยสังเคราะห์ขึ้นจาก

                       1) ข้อค้นพบจากการศึกษา

                       2) ผลการจัดประชุมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
                       3) กรอบแนวคิดทางสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ และหลักการ UNGP








                                                            12
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77