Page 174 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 174
สหประชาชาติว่าด้วยสถานการณ์ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชน (Special Rapporteur on the Situation of
HRDs)
3. การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การบังคับ
ใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... การแก้ไข
พระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 การทบทวนและยกเลิกกฎหมาย กฎ ระเบียบ คำสั่งใด
ๆ ที่จํากัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนกำหนดเงื่อนไขเพื่องดเว้นโทษให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ อาทิ
พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (ฉบับปรับปรุงปี 2549) พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558
ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เป็นต้น
4. การกำหนดนิยามคำว่า “นักปกป้องสิทธิมนุษยชน” ให้ชัดเจน รวมทั้งการศึกษา European
Guidelines on Human Rights Defenders เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการและกลไกในการ
คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงมาตรการคุ้มครองพยาน โดยจะต้องเก็บรักษาความลับข้อมูลนัก
ปกป้องสิทธิมนุษยชน ข้อมูลของผู้ร้องเรียน และข้อมูลเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคุ้มครองพยานให้กับนักปกป้อง
สิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ สมควรที่จะบรรจุเรื่องการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนไว้ในแผนสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ ฉบับที่ 4 โดยให้ภาครัฐและภาคธุรกิจเข้าใจการทำงานของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนในลักษณะ
“หุ้นส่วนสำคัญ” ที่จะร่วมกันทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อป้องกัน บรรเทา และเยียวยาผลกระทบอันไม่พึง
ประสงค์ด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งหลีกเลี่ยงการฟ้องคดีอาญาต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ทำหน้าที่อย่าง
สุจริต ตลอดจนกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เป็นผู้หญิงเพื่อให้ทำงาน
ได้อย่างปลอดภัย
4.2.10 ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในกรณีของรัฐวิสาหกิจ
ประเด็นปัญหาในส่วนของธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนในกรณีของรัฐวิสาหกิจสามารถสรุปได้ดังนี้
ประเด็นปัญหาแรก คือ การดำเนินการของรัฐวิสาหกิจที่กระทบต่อสิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม
เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีบทบาททั้งเป็นภาครัฐที่ต้องจัดหาบริการสาธารณะให้กับประชาชน และเป็นภาคเอกชน
ที่ต้องแข่งขันและแสวงหากำไร ดังนั้น รัฐวิสาหกิจจึงต้องทำหน้าที่ทั้งในส่วนของการคุ้มครอง เคารพ และ
เยียวยาต่อปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน ที่ดิน
และสิ่งแวดล้อม จึงเกิดขึ้นจากการกระทำของรัฐวิสาหกิจด้วยเช่นกัน โดยจะพบว่าการพัฒนาโครงการจะเป็น
การทำให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญเสียประโยชน์ที่เคยได้รับ ก่อให้เกิดการต่อต้านหรือไม่ต้องการให้มีโครงการ
ดังกล่าวเกิดขึ้นมา แต่อีกด้านหนึ่งก็จะมีชาวบ้านบางกลุ่มที่ต้องการการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างงาน
และโอกาสอื่น ๆ ที่ตามมา เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกระหว่างกลุ่มคนในชุมชน และอาจนำไปสู่ความขัดแย้ง
ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ โดยที่รัฐวิสาหกิจอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องก็ตามซึ่งใน
ส่วนนี้รัฐวิสาหกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหานี้เพราะไม่ได้บูรณาการการพัฒนาร่วมกับชุมชน
อย่างแท้จริง เช่น การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การสร้างงานหรือการแบ่งปันผลประโยชน์
114