Page 175 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 175
ปัญหาที่สอง คือ การละเมิดในที่ทำงานหรือสวัสดิการของลูกจ้าง แม้ว่ารัฐวิสาหกิจจะมีการจัดตั้ง
สหภาพที่เข้มแข็ง และรักษาผลประโยชน์ในกลุ่มลูกจ้างได้เป็นอย่างดี สอดคล้องกับสิทธิในการรวมกลุ่ม แต่
ยังคงมีข้อจำกัดทางกฎหมายบางประการที่อาจจะละเมิดสิทธิในการรวมกลุ่ม เช่น ข้อบังคับทางกฎหมายที่
ห้ามมิให้มีการนัดหยุดงานหรือปิดกิจการในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และยังได้กำหนด
บทลงโทษ ให้จำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ ต่อผู้ที่ทำการประท้วงหยุดงานในองค์กรรัฐวิสาหกิจ
ด้วยเหตุนี้ กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็น
สำหรับการจัดการรัฐวิสาหกิจ สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
- ภาครัฐควรมีกลไกที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจมีการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในการประกอบธุรกิจ รวมทั้ง
มีการผลักดันการเคารพสิทธิมนุษยชนไปยังห่วงโซ่อุปทานของตน อีกทั้งยังควรที่จะเป็นกลุ่มองค์กรต้นแบบที่มี
การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
- ควรมีกลไกสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้าของภาครัฐ
4.3 ข้อเสนอแนะ
4.3.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2560 โดยเปรียบเทียบระหว่างกลไกที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย
- ปรับแก้รัฐธรรมนูญให้มีการรับรองสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจที่ชัดเจน สอดคล้องกับหลัก
สากล รัฐธรรมนูญควรจะกำหนดนิยามเพิ่มเติมในสิทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนให้ครอบคลุมและ
ครบถ้วนตามหลักสากล เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิที่ตนเองมีอย่างชัดเจน และทำให้เกิดความชัดเจนใน
เรื่องของหน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลในสิทธิต่างๆ โดยการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 (หน้าที่ของรัฐ) หรือ
หมวด 6 (แนวนโยบาย)
2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)
- กำหนดหน่วยงานภาครัฐ เช่น กสม. ให้สามารถทำหน้าที่ดูแลปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนคนไทย
ที่อยู่ต่างประเทศ และดูแลปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศ
- กสม. ควรที่จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยพิจารณาบทบัญญัติที่มีความเกี่ยวข้องกับการคุ้มครอง
สิทธิ โดยทำหน้าที่พิจารณากฎระเบียบและกฎหมายในช่วงรัฐบาล คสช. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบในมิติของ
115