Page 177 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 177
4.3.3 สิทธิแรงงาน
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิแรงงานโดยเปรียบเทียบระหว่างกลไกที่
มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย
- กระทรวงแรงงานควรแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ซึ่งมีบทบัญญัติที่เป็นการ
เลือกปฏิบัติ เช่น ให้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน และ
ปรับแก้บทกำหนดโทษอาญาสำหรับการนัดหยุดงาน
- กระทรวงแรงงานควรปรับแก้มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 การ
คุกคามทางเพศในที่ทำงาน ให้ครอบคลุมการคุกคามระหว่างลูกจ้างด้วยกัน หรือบุคคลที่สาม เช่น ลูกค้า หรือ
เจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงผู้ที่ยังไม่มีสัญญาจ้าง เช่น ผู้สมัครงาน หรือการทำงานที่ไม่มีการจ่ายค่าจ้าง เช่น การ
ฝึกงาน
- กระทรวงแรงงานควรพิจารณาขอบเขตการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ว่าเหมาะสมกับสภาพการทำงานของบางกิจการหรือไม่ หากไม่เหมาะสมควรมีการตรากฎหมายแยกเพื่อให้
สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ตรงตามสภาพการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)
- กระทรวงแรงงานและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มี
จำนวนพนักงานตรวจแรงงานเพิ่มขึ้น
- กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรสร้างกลไกการประสานงาน
ระหว่างหน่วยงานภายในประเทศ และหน่วยงานในต่างประเทศ
- กระทรวงแรงงานควรสนับสนุนการมีส่วนร่วมของตัวแทนจากแรงงานที่หลากหลายในสหภาพ
แรงงาน เช่น ออกนโยบายหรือมาตรการที่ให้มีตัวแทนแรงงานหญิง แรงงานข้ามชาติ อยู่ในคณะกรรมการหรือ
ผู้นำของสหภาพแรงงาน
- กระทรวงแรงงานควรเป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้งคณะทำงานประจำที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน
ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจ
แห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมถึงตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการที่
จะช่วยนำเสนอ พิจารณา และจัดทำข้อเสนอในการรองรับประเด็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อสภาพ
การทำงานในอนาคต
117