Page 169 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 169
70
ทั้งหมดภายใต้ EEC ต่อสาธารณชนเพื่อให้รับทราบล่วงหน้า และควรมีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนใน
พื้นที่ก่อนที่โครงการเหล่านั้นจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) และได้รับการอนุมัติเงินกู้จากธนาคาร
2. การพิจารณากำหนดเงื่อนไขให้รัฐบาลพิจารณาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนก่อนการลงนาม ใน
ข้อตกลง สนธิสัญญาด้านการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ และการพิจารณาข้อบทเพื่อความมั่นคงแห่ง
สัญญา (Stabilization clause) ในข้อตกลงการลงทุนว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐใน
ด้านการส่งเสริมหลักการ UNGP ซึ่งการกำหนดมาตรการให้องค์กรธุรกิจที่ตั้งอยู่ในดินแดน หรือเขตอำนาจ
อธิปไตยของประเทศไทยต้องปฏิบัติตามหลักการ UNGP การกำหนดมาตรการให้การริเริ่มหรือพัฒนาโครงการ
ใด ๆ ต้องคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะ สิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน และผลกระทบต่อประชาชนในพื้น
ที่ตั้งโครงการก่อนจะตัดสินใจดำเนินโครงการ การกำหนดมาตรการกำกับดูแลการลงทุนในต่างประเทศของผู้
ลงทุนสัญชาติไทยให้เคารพต่อหลักการสิทธิมนุษยชน การกำหนดมาตรการให้ธุรกิจซึ่งได้รับการสนับสนุนและ
ให้ประกันการลงทุนประกอบธุรกิจโดยเคารพสิทธิมนุษยชน การกำหนดให้มีการศึกษาความเสี่ยงและ
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนในการจัดทำบริการสาธารณะโดยนักวิชาการอิสระที่ประชาชนในพื้นที่และสังคม
ยอมรับ รวมทั้งกำหนดมาตรการและกลไกกำกับดูแลเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบดังกล่าว อีกทั้งเสนอให้ใช้
หลักการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและการเฝ้าระวังด้านสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังในการจัดทำ
บริการสาธารณะและสัญญาการร่วมลงทุน (กรณีรัฐมอบให้เอกชนดำเนินการ) การพิจารณายกเลิกการ
มอบหมายให้ภาคเอกชนดำเนินการจัดทำโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะผ่าน
สัญญาร่วมลงทุน (Public-Private Partnership)
3. การกำหนดแนวปฏิบัติให้ชัดเจนในการควบคุมบรรษัทและธุรกิจในต่างประเทศ การพิจารณาจัดทำ
มาตรการกำหนดให้ทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน (trans-boundary EIA) และมี
มาตรการเฝ้าระวังต่อผลกระทบข้ามพรมแดนทางด้านสุขภาพ การเกษตร และสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มี
การจัดทำการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence หรือ
HRDD)
4. การกำหนดให้มีหน่วยงานกลางในการควบคุมดูแลกรณีเกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
การกำหนดบทบาทของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการควบคุมบริษัท
มหาชนให้เคารพและปฏิบัติตามหลักการ UNGP การสร้างกลไกในการตรวจสอบผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
ข้ามพรมแดน การส่งเสริมบทบาทของ กสม. ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศโดยภาค
ธุรกิจไทย ซึ่งบริษัทแม่จดทะเบียนหรือมีสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย การกำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
ออกมาตรการกำกับให้ธนาคารไทยมีนโยบายปกป้องสิ่งแวดล้อมและสังคม (Bank’s Environmental and
70 การเปิดเผยข้อมูลจะต้องมีระดับความเหมาะสมที่จะไม่กระทบต่อการดำเนินธุรกิจ แต่ต้องมีข้อมูลเพียงพอที่จะเข้าใจถึง
ผลกระทบ ความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิอย่างครบถ้วน
109