Page 178 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 178

4.3.4 สิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน

                       เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานโดย
               เปรียบเทียบระหว่างกลไกที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้


                       1.  กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย

                       - ปรับปรุง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าให้มีความครอบคลุม และสามารถรองรับรูปแบบการ

               แทรกแซงการแข่งขันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้

                       - ปรับปรุง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคให้มีบทลงโทษให้มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น


                       2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)

                       - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรที่จะมีการผลักดันให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ
               เกษตรพันธสัญญามากยิ่งขึ้น


                       - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรที่จะให้อัยการเข้ามาช่วยในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม

               พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญาฉบับใหม่


                       - กระทรวงพาณิชย์ควรที่จะให้ทุนสนับสนุนวิจัยเพื่อศึกษาถึงจุดสมดุลย์ระหว่างการบังคับใช้
               กฎระเบียบ กฎหมายตามพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสังคม


                       -  กระทรวงพาณิชย์ควรที่จะต้องตั้งกลุ่มงานตรวจสอบ ประเมินผลกระทบของการลงทุนจากประเทศ

               จีนต่อการแข่งขันของธุรกิจไทย รวมทั้งพิจารณาถึงปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสนอกลไกการรับมือ

               ให้กับภาครัฐ


                       - สนับสนุนกลไกการปลูกฝังให้สื่อและการโฆษณามีการตระหนักต่อการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน

                       - การกำหนด KPI ให้คณะกรรมการ การแข่งขันทางการค้าจะต้องมีการพิจารณาตรวจสอบนโยบาย

               ภาครัฐ และการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ





                       4.3.5 สิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม
                       เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อมโดย

               เปรียบเทียบระหว่างกลไกที่มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                       1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย


                       - ปรับแก้กฎหมายเพิ่มค่าปรับสำหรับธุรกิจที่มีการละเมิดสิทธิสิ่งแวดล้อม และสิทธิชุมชนให้มีความ
               เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และเพิ่มมาตรการลงโทษในกรณีที่เป็นความผิดซ้ำซ้อน





                                                           118
   173   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183