Page 172 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 172
1. การรับรองสิทธิผู้บริโภคเพิ่มเติมให้ชัดเจนตามหลักสากล โดยเพิ่มสิทธิอีก 4 สิทธิ ได้แก่
- สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารปลอดภัย ที่อยู่อาศัย การ
เข้าถึงบริการการศึกษาและสาธารณสุข
- สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ รวมทั้งกำหนด
หลักเกณฑ์ร่วมกับรัฐบาลในการบริหารจัดการ
- สิทธิที่จะได้รับความรู้และไหวพริบอันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่าทัน เป็นสิทธิที่จะได้รับความรู้ที่
ควรรู้ ควรมี เพื่อที่จะใช้ในการตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค
- สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย
2. ปรับแก้ พระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. ... ให้มีตัวแทนจากภาคประชาชนเข้าไป
ทำหน้าที่อย่างแท้จริง
3. เพิ่มเติมกลไกในการคุ้มครองดูแลผู้บริโภค ดังนี้
1) การออกกฎหมายความรับผิดต่อสินค้าบกพร่อง เพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติม
2) การพัฒนากลไกการเยียวยาข้ามแดน
3) การพัฒนากลไกการไกล่เกลี่ยแบบออนไลน์
4) พัฒนากลไกแบบเฉพาะเพื่อติดตามความก้าวหน้าเฉพาะเรื่อง และปรับปรุงกฎหมาย บทลงโทษให้
มีความทันสมัยเพื่อขยายขอบเขตให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และเพื่อสนับสนุนกลไกการลงโทษเพื่อป้องปราม
ผู้กระทำผิด ในประเด็นต่าง ๆ ประกอบด้วย
- กลุ่มเรื่องร้องเรียนอาคารชุด กับบ้านจัดสรร กรณีก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หรือมีการชำรุดหลังปลูก
สร้าง
- กลุ่มเรื่องร้องเรียนอพาร์ทเมนต์/หอพัก/ห้องเช่า/บ้านเช่า กรณีการเรียกค่าสาธารณูปโภค (ค่า
น้ำประปา ค่าไฟฟ้า) สูงเกินจริง และปัญหาการขอเงินประกันคืน
- กลุ่มสินค้าอุปโภค/บริโภค กรณีสั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า สินค้ามีการโฆษณาเกินจริงหรือผิดไป
จากฉลากที่ระบุ และสินค้าชำรุดไม่ได้มาตรฐาน
- กลุ่มสินค้าออนไลน์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดใหญ่ คือ ผู้บริโภคในไทยซื้อของจากผู้ประกอบการใน
ประเทศ ผู้บริโภคในไทยซื้อของจากผู้ประกอบการต่างประเทศ และผู้บริโภคต่างประเทศซื้อของจาก
ผู้ประกอบการในไทย
- ปัญหามาตรฐานในอาหารและเครื่องดื่มของไทย
- ปัญหาสิทธิส่วนบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้าอัจฉริยะ
112