Page 176 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 176
72
สิทธิมนุษยชนกับการประกอบธุรกิจ (โปรดดูตัวอย่างในภาคผนวก จ และฉ) และควรทำหน้าที่ในการ
พิจารณาความเหมาะสมของข้อบัญญัติใหม่ ๆ ตามบทบัญญัติในมาตรา 25 และ 26 เพื่อให้เกิดความชัดเจนใน
การตีความตามที่ถูกบัญญัติขึ้น
- กสม. ควรที่จะเสนอให้ภาครัฐมีการดำเนินการตามมาตรา 26 โดยกำหนดให้ทุกหน่วยงานภาครัฐที่
จะมีการออกบทบัญญัติ (กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ) ให้มีการพิจารณาในประเด็นของการจำกัดหรือ
ละเมิดสิทธิมนุษยชน และให้มีการเขียนเหตุผลความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้นไว้ด้วย
4.3.2 สิทธิผู้ถือหุ้น
เมื่อพิจารณาช่องว่างในกลไกการดำเนินการที่มีอยู่สำหรับสิทธิผู้ถือหุ้นโดยเปรียบเทียบระหว่างกลไกที่
มีอยู่กับกลไกที่ควรจะเป็น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. กลไกทางด้านการปรับแก้กฎหมาย
- เสนอให้ ปรับแก้กฎหมายเพื่อเพิ่มโทษทางแพ่งและอาญาที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชกำหนดการกู้ยืม
เงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
- เสนอให้ ปรับแก้กฎหมายให้ภาครัฐมีหน้าที่ในการฟ้องแทนประชาชนในกรณีที่ประชาชนที่ได้รับ
ความเสียหายมีจำนวนมากและประเด็นปัญหาเป็นแบบเดียวกัน (ฟ้องคดีแบบเป็นกลุ่ม)
2. กลไกที่ไม่ใช่ด้านกฎหมาย (นโยบาย มาตรการต่าง ๆ และการดำเนินการอื่น ๆ)
- กสม. ควรที่จะสนับสนุนให้ภาคเอกชนมีการสร้างต้นแบบ Shareholder due diligence เพื่อสร้าง
ความชัดเจนถึงแนวทางปฏิบัติที่ดี
- กระทรวงการคลังควรที่จะพิจารณากลไกสนับสนุนให้นักลงทุนรายย่อยมีการลงทุนผ่านผู้ลงทุนที่มี
ความชำนาญการ อาทิเช่น การสนับสนุนโดยใช้นโยบายจูงใจทางภาษี เป็นต้น
- ก.ล.ต. ควรที่จะช่วยดูแลตรวจสอบธุรกิจลงทุนสมัยใหม่ทั้งหมด ในขณะที่ สคบ. ควรที่จะยกระดับ
การคุ้มครองปัญหาแชร์ลูกโซ่โดยกำหนดเป็น KPI ขององค์กร
- ก.ล.ต. ควรที่จะก่อตั้งกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุน เพื่อให้เกิดกลไกการเยียวยาเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับ
ความเสียหาย โดยกองทุนอาจจะอาศัยการเก็บค่าธรรมเนียมจากการซื้อขายหุ้นเป็นแหล่งรายได้
72 ทางคณะผู้วิจัยได้รวบรวมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่ออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2562
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
(คสช.) ที่ กสม.ควรจะนำมาพิจารณาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
116