Page 171 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 171

2. สิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นในฐานะตัวแทนผู้บริโภคเพื่อให้ได้รับประโยชน์ที่พึงได้ รวมทั้งกำหนด

               หลักเกณฑ์ร่วมกับรัฐบาลในการบริหารจัดการ

                       3. สิทธิที่จะได้รับความรู้และไหวพริบอันจำเป็นต่อการบริโภคอย่างเท่าทัน เป็นสิทธิที่จะได้รับความรู้
               ที่ควรรู้ ควรมี เพื่อที่จะใช้ในการตัดสินใจต่อสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภค


                       4. สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย เป็นสิทธิที่จะได้อยู่ใน
               สิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่

               ผู้บริโภคแต่ละคนไม่สามารถควบคุมได้เอง สิทธินี้ต้องครอบคลุมถึงความต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและ
               ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย

                       ปัญหาที่ห้า คือ ช่องโหว่ของกฎหมายผู้บริโภคในบางประเด็นที่สำคัญ ซึ่งจากการสัมภาษณ์ สคบ. จะ

               พบว่ามี 3 ประเด็นที่ควรจะมีการต่อยอดเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้บริโภคให้ดียิ่งขึ้น ได้แก่

                       1) การออกกฎหมายความรับผิดต่อสินค้าบกพร่อง เพื่อให้การคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติม

                       2) การพัฒนากลไกการเยียวยาข้ามแดน


                       3) การพัฒนากลไกการไกล่เกลี่ยแบบออนไลน์

                       ปัญหาที่หก คือ ประเด็นสำคัญที่เป็นปัญหาในปัจจุบันและอนาคตของไทย ได้แก่ ปัญหามาตรฐาน

               อาหาร ซึ่งในปัจจุบันพบปัญหาในเรื่องของมาตรฐานอาหารที่ค่อนข้างเยอะ ทั้งที่เป็นอาหารในหาบเร่ แผงลอย
               ร้านขายสินค้าที่ระลึก ตลอดจนอาหารและเครื่องดื่มสมัยใหม่กลับพบว่ามีการใช้สารที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพ

               ในปริมาณที่มาก นอกจากนี้ การซื้อขายสินค้าออนไลน์ในปัจจุบันมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้น และมีธุรกรรม

               จำนวนมากที่เป็นการค้าขายข้ามพรมแดน กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนนี้จะมีความสำคัญทั้งกับผู้บริโภค
               ที่เป็นคนไทย และผู้บริโภคชาวต่างประเทศไปพร้อม ๆ กัน


                       ปัญหาที่เป็นประเด็นที่สำคัญอย่างสุดท้าย คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าอัจฉริยะ ในปัจจุบันสินค้า
               อัจฉริยะได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน สินค้าอัจฉริยะก็ได้มีการเก็บ

               รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของผู้บริโภคเอาไว้ด้วยเช่นเดียวกัน อาจเป็นเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคใน

               ด้านความเป็นส่วนตัวได้ อาทิเช่น การได้รับอันตรายเนื่องจากการเปิดเผยข้อมูลผู้บริโภคแบบเรียลไทม์ การถูก
               ก่อกวนจากโฆษณา การบิดเบือนความต้องการผ่านการโฆษณาเฉพาะบุคคล เป็นต้น ประเด็นปัญหาในส่วนนี้

               บางส่วนยังคงมีความไม่ชัดเจนว่าเส้นแบ่งความเป็นส่วนตัวกับการประกอบธุรกิจบนฐานข้อมูลผู้บริโภคที่
                                                                                         71
               เหมาะสมควรเป็นเช่นไร ดังนั้น จึงควรที่จะต้องมีการศึกษาวิจัยในประเด็นนี้ในเชิงลึกต่อไป

                       เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาที่สำคัญทั้ง 6 ข้อ จะพบว่ากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของ
               ภาครัฐที่ควรจะเป็น มีดังนี้




               71  ข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิได้มีการยกประเด็นว่าสิทธิความเป็นส่วนตัวอาจจะเกิดขึ้นกับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าอัจฉริยะ
               อย่างไรก็ดี การออกพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่ได้มีส่วนช่วยทำให้ปัญหาในประเด็นนี้อาจจะไม่ได้มี
               ความเร่งด่วนมากนัก
                                                           111
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176