Page 170 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 170
Social Safeguards Policies) โดยเฉพาะการปล่อยเงินกู้ให้กับธุรกิจการลงทุนขนาดใหญ่ทั้งในไทย และ
ประเทศเพื่อนบ้าน โดยอาจนำหลักการมาตรฐานสากลในการพิจารณาสินเชื่อ(Equator Principle) มาปฏิบัติ
4.2.7 สิทธิผู้บริโภค
ประเด็นปัญหาในส่วนของสิทธิผู้บริโภค สามารถสรุปได้ดังนี้
ปัญหาที่หนึ่ง คือ ปัญหาประเภทอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจำนวนมาก และ
มีมูลค่าที่สูง โดยสถิติจาก สคบ. พบว่าเรื่องร้องเรียน 3 อันดับแรกจะมีสัดส่วนสูงถึงระดับร้อยละ 80 ของ
จำนวนเรื่องร้องเรียนทั้งหมด โดยเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับ อาคารชุด บ้านจัดสรร และอพาร์ทเมนต์/หอพัก/ห้อง
เช่า/บ้านเช่า ประเด็นเรื่องร้องเรียนที่สำคัญของอาคารชุดกับบ้านจัดสรร คือ ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หรือมีการ
ชำรุดหลังปลูกสร้าง ในขณะที่เรื่องร้องเรียนของอพาร์ทเมนต์/หอพัก/ห้องเช่า/บ้านเช่า จะเกี่ยวกับการเรียกค่า
สาธารณูปโภค (ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า) สูงเกินจริง และปัญหาการขอเงินประกันคืน
ปัญหาที่สอง คือ ปัญหาประเภทสินค้าอุปโภค/บริโภค ซึ่งมีจำนวนเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก แต่มักจะ
เป็นเรื่องที่มูลค่าทางเศรษฐกิจไม่สูงมากนัก แต่จะมีลักษณะที่ค่อนข้างจะกระจายไปตามกลุ่มสินค้าที่
หลากหลาย โดยมีหมวดที่สำคัญ คือ สินค้าบริโภค เครื่องมือสื่อสาร เครื่องสำอาง/เวชสำอาง เครื่องใช้ไฟฟ้า
อุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ธุรกิจขายตรง เครื่องประดับ ประเภท
ของปัญหาที่พบเจอ จะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันคือ สั่งซื้อสินค้าแล้วไม่ได้รับสินค้า สินค้ามีการโฆษณาเกินจริง
หรือผิดไปจากฉลากที่ระบุ สินค้าชำรุดไม่ได้มาตรฐาน
ปัญหาที่สาม คือ ปัญหาการขาดองค์กรอิสระที่จะเป็นตัวแทนหลักของผู้บริโภค โดยในปัจจุบัน
ภาครัฐได้มีการออก พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 แต่มีข้อวิจารณ์ว่าไม่ได้เกิด
จากกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งอาจจะทำให้กลุ่มตัวแทนที่ได้ไม่สะท้อนความต้องการผู้บริโภคอย่าง
แท้จริง จึงควรที่จะมีการปรับปรุงกฎหมายให้มีตัวแทนจากฝ่ายผู้บริโภคขึ้น โดยยึดเอาแนวทางจากร่าง พ.ร.บ.
ที่กลุ่มตัวแทนภาคประชาชนนำเสนอ ซึ่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีการรับฟังความ
คิดเห็นมาเป็นต้นแบบ อันได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. ... ที่สำนักงาน
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นแกนในการจัดทำ
ปัญหาที่สี่ คือ ความเหลื่อมล้ำระหว่างการรับรองสิทธิผู้บริโภคของไทยและในระดับสากล โดยหาก
พิจารณาถึงการรับรองสิทธิของผู้บริโภคของไทยเทียบกับระดับสากล จะพบว่ามีช่องว่างที่สำคัญอยู่ 4 ประเด็น
ซึ่งแม้ว่าในบางประเด็นจะมีการเขียนกฎหมายที่สนับสนุนให้เกิดการคุ้มครองอยู่แล้ว แต่การรับรองสิทธิอย่าง
เป็นทางการนั้น เป็นพื้นฐานในการคุ้มครองผู้บริโภคที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ดังนั้น การคุ้มครอง
สิทธิผู้บริโภคของไทยจึงมีภารกิจที่จะดำเนินการให้ครบถ้วนเทียบเท่ากับหลักสากล โดยมี 4 ประเด็นที่ควรจะ
เพิ่มเติม ได้แก่
1. สิทธิที่จะได้รับสินค้าและบริการที่จำเป็นในการดำรงชีวิต อันได้แก่ อาหารปลอดภัย ที่อยู่อาศัย
การเข้าถึงบริการการศึกษาและสาธารณสุข
110