Page 168 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 168

การได้ใช้ที่ดิน และถูกบังคับเวนคืนไม่สอดคล้องกับราคาที่ควรจะเป็นจริง และเปลี่ยนแปลงรูปแบบการยังชีพ

               สิ้นเชิงนำมาซึ่งปัญหาความยากจนก็เป็นได้

                       ปัญหาที่สาม คือ ปัญหาสุขภาพ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้และส่งผลกระทบเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังไม่

               สามารถพิสูจน์ได้ว่าโครงการพัฒนาดังกล่าวเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโรคต่าง ๆ ได้หรือไม่ เพราะต้องมีการ
               ได้รับสารพิษ การปนเปื้อนในแหล่งน้ำ อาหาร หรืออากาศเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่งจนเกิดอาการของโรค

               อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง ปวดศีรษะและอาเจียน

               มะเร็ง ตลอดจนเสียชีวิตได้

                       ปัญหาที่สี่ คือ ปัญหาจากการแย่งชิงฐานทรัพยากร จะพบว่าการพัฒนาโครงการอาจเป็นการทำให้

               ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูญเสียประโยชน์ที่เคยได้รับ ส่งผลให้มีการต่อต้านหรือไม่ต้องการให้มีโครงการดังกล่าวเกิด
               ขึ้นมา แต่ในอีกด้านหนึ่งก็จะมีชาวบ้านบางกลุ่มที่ต้องการการพัฒนาในพื้นที่เพื่อให้เกิดการสร้างงานและ

               โอกาสอื่น ๆ ที่ตามมาเช่นกัน จึงเป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกระหว่างกลุ่มในชุมชน และอาจนำไปสู่ความ
               ขัดแย้งในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ ในขณะที่ผู้พัฒนาโครงการอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่

               เกี่ยวข้องก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้เอกชนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหานี้เพราะไม่ได้บูรณาการการพัฒนา

               ร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริง เช่น การให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การสร้างงานหรือการแบ่งปันผลประโยชน์

                       สำหรับอีกปัญหาหนึ่ง ได้แก่ อาชญากรรมและธุรกิจผิดกฎหมาย เนื่องจากการพัฒนาโครงการต้อง

               อาศัยแรงงานเป็นจำนวนมาก และต้องพัฒนาโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามกรอบเวลาที่กำหนด ทำให้บาง
               แห่งมีการใช้สารเสพติดเพื่อให้มีความสามารถในการทำงานสูงกว่าปกติ หรือการเปิดบ่อนหรือการค้าประเวณี

               (ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ที่ตามมาก็เป็นได้) เพื่อล่อลวงให้แรงงานต้องทำงานต่อเนื่องเพราะเป็นหนี้
               และไม่สามารถใช้หนี้จากธุรกิจเหล่านี้ได้


                       ด้วยเหตุนี้ กลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่ควรจะเป็น
               สำหรับการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ มีด้วยกันหลายประการ แยกพิจารณาได้ดังนี้


                       1. ให้มีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ นโยบาย และมาตรการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การออก
               กฎหมาย หรือนโยบายที่เป็นรูปธรรม รวมทั้งสร้างกลไกตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนนอกอาณาเขต

               เพื่อให้เกิดการปกป้อง คุ้มครอง เยียวยา และเกิดความรับผิดชอบข้ามพรมแดน (cross border) ซึ่งผู้ถูก

               ละเมิดสามารถใช้กระบวนการยุติธรรมในประเทศไทยในการคุ้มครองและเยียวยาได้ เช่น พระราชบัญญัติ
               ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาด

               หลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 รวมถึงให้มีการกำกับ ควบคุม ดูแล และมีมาตรการลงโทษ ในเรื่องของการลงทุนของ

               นักลงทุนไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ ไม่ว่าในรูปแบบการลงทุนจะเป็นไปในรูปแบบบริษัทลูก หรือกิจการร่วม
               ค้า และพัฒนาหลักการกำกับดูแลที่ดี (Corporate Governance Code หรือ CG code) ให้มีสภาพบังคับ

               ตามกฎหมาย การออกกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาค
               ตะวันออก (EEC) และมีมาตรการลงโทษที่ชัดเจน การกำหนดมาตรการเปิดเผย ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ





                                                           108
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173