Page 167 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 167

- มหาวิทยาลัย หรือ กสม. อาจจะสามารถเข้ามาเป็นผู้ให้ข้อมูลทางด้านวิชาการ และทำหน้าที่เป็น

               ศูนย์ไกล่เกลี่ยได้

                       เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาที่สำคัญทั้ง 6 ข้อ จะพบว่ากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของ

               ภาครัฐที่ควรจะเป็น มีดังนี้

                       1. กลไกในการศึกษาผลได้และผลเสียอย่างรอบด้านที่ให้สมดุลย์ระหว่างสิทธิในการใช้ที่ดินแบบดั้งเดิม

               กับสิทธิในการพัฒนา

                       2. กลไกการลงโทษตามกฎหมายควรที่จะมีการเพิ่มบทลงโทษอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณี

               ความผิดซ้ำซ้อน

                       3. กลไกการประเมินมาตรการข้อยกเว้นในการดำเนินการตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในช่วง

               รัฐบาลคสช.


                       4. กลไกการทบทวนพิจารณากฎหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมในช่วงรัฐบาลคสช. ที่ผ่านมา

                       5. กลไกการรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้มีความครอบคลุมตามหลักสากล


                       6. กลไกเสริมให้กระบวนการ EIA มีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น




                       4.2.6 การลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ
                       ประเด็นปัญหาในส่วนของการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติสามารถสรุปได้ดังนี้


                       ประเด็นปัญหาแรก คือ ปัญหาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการลงทุนระหว่างประเทศมักจะเกี่ยวข้องกับ
               โครงการพัฒนาขนาดใหญ่ และทรัพยากรธรรมชาติเป็นส่วนมาก กิจกรรมบางอย่างในธุรกิจอาจจะส่งผล

               กระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ การแผ้วถางป่าและรบกวนระบบนิเวศน์ การปล่อยสารเคมีหรือสารพิษลงในแหล่ง

               น้ำ ภาวะหมอกควันหรือการปล่อยก๊าซที่อาจเป็นมลพิษทางอากาศ การก่อสร้างที่ส่งเสียงดังรบกวนผู้อยู่อาศัย
               ในละแวกใกล้เคียง และส่งผลให้ชุมชนในประเทศที่ภาคเอกชนไทยเข้าไปลงทุนอาจจะได้รับผลกระทบที่ตามมา

               เช่น ภาวะทางสุขภาพ ภาวะขาดแคลนเพราะสูญเสียความมั่นคงทางอาหาร โดยไม่ได้รับความคุ้มครองที่
               เหมาะสมและเพียงพอจากปัญหาสิ่งแวดล้อมข้างต้น


                       ปัญหาที่สอง คือ การเวนคืนที่ดิน โครงการพัฒนาส่วนใหญ่ต้องใช้พื้นที่เป็นจำนวนมาก หรือไม่ก็
               เพราะที่ดินในบริเวณนั้นอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต้องใช้เพื่อประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ตาม ที่ดิน

               บริเวณดังกล่าวอาจจะไม่ได้เป็นที่ดินว่างเปล่า แต่ถูกจับจองโดยชุมชนและชาวบ้านเพื่ออยู่อาศัยหรือประกอบ

               อาชีพ เช่น การเพาะปลูก เกษตรกรรม หรือ การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น การเวนคืนดังกล่าวมักจะเป็นไปตาม
               กฎหมายเวนคืนของประเทศนั้น ๆ ซึ่งมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม การชดเชยจากการเวนคืน

               ดังกล่าวก็ยังไม่สะท้อนกับราคาตลาดที่เป็นอยู่ ทำให้เจ้าของที่ดินต้องเสียประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคตจาก




                                                           107
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172