Page 166 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 166

4.2.5 สิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อม

                       ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน ที่ดินและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น 6 ปัญหา
               ที่สำคัญ คือ


                       ปัญหาที่หนึ่ง ปัญหาข้อพิพาทในการเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้เอกชนใช้ โดยสาระสำคัญของปัญหาจะ
               อยู่ที่การพิจารณาในมุมมองที่สมดุลย์ระหว่างสิทธิในการใช้ที่ดินแบบดั้งเดิม กับสิทธิในการพัฒนา โดยในด้าน

               หนึ่งจะมีกลุ่มคนที่มีสิทธิเดิมที่ได้รับผลกระทบ แต่ในอีกด้านหนึ่งการเวนคืนที่ดินเพื่อการพัฒนาก็นำไปสู่

               ผลประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

                       ปัญหาที่สอง ธุรกิจมีการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม โดยมากธุรกิจมักจะ

               อาศัยช่องโหว่ที่ระบบตรวจสอบของภาครัฐยังมีความล่าช้าและไม่ทันการอยู่ ทำให้กลไกการตรวจสอบยังมี
               ความผิดพลาดไม่สามารถที่จะดูแลคุ้มครองสิทธิของสิ่งแวดล้อมและที่กระทบต่อสิทธิชุมชนได้อย่างดีพอ


                       ปัญหาที่สาม ปัญหาการยกเว้นการบังคับใช้กฎหมายภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
               (คสช.) โดย คสช. ได้มีการใช้อำนาจความเป็นรัฐฎาธิปัตย์ในการกำหนดกฎระเบียบการดำเนินการหลาย

               ประการที่ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่อาจจะส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม อาทิ เช่น

               การอนุญาตให้ตั้งหรือขายโรงงานน้ำตาลได้ทุกท้องที่ การให้ธุรกิจสามารถที่จะทำธุรกิจไปก่อนในระหว่าง
               การศึกษา EIA การยกเว้น EIA สำหรับโรงไฟฟ้าขยะ การยกเว้นผังเมืองสำหรับโรงไฟฟ้าขยะ เป็นต้น


                       ปัญหาที่สี่ ปัญหาการผลักดันกฎหมายในรัฐบาล คสช. โดยที่ไม่ได้มีการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบ
               ด้าน ทำให้กฎหมายที่ผลักดันออกมามีความสุ่มเสี่ยงที่จะไม่สามารถที่จะคุ้มครองและเยียวยาสิทธิชุมชน สิทธิ

               ที่ดินและสิทธิสิ่งแวดล้อมได้มากพอ อาทิ เช่น พระราชบัญญัติโรงงาน พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา
               คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พระราชบัญญัติแร่ เป็นต้น


                       ปัญหาที่ห้า ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พบว่าสิทธิทางด้านสิ่งแวดล้อมที่
               สำคัญหายไป เช่น สิทธิในการดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี สิทธิในการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น


                       ปัญหาที่หก ปัญหาในกระบวนการ EIA และการบังคับใช้ โดยในส่วนแรกจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใน
               ขั้นตอนการทำ EIA ที่อาจจะยังขาดระเบียบบางประการที่ทำให้การทำ EIA ไม่ได้มีการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

               โดยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ พบว่ามี 4 กลไกที่สำคัญ คือ

                       - เพิ่มระเบียบเพื่อควบคุมกระบวนการมีส่วนร่วมให้เชิญคนที่เกี่ยวข้องทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย


                       - เพิ่มระเบียบการส่งข้อมูลข่าวสารไปให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ EIA (ให้ข้อมูลล่วงหน้า และต้อง

               ส่งถึงผู้รับโดยตรงไม่ใช่แค่เผยแพร่บนเว็บไซต์)


                       - เพิ่มกฎหมายที่ระบุกลไกการติดตามการดำเนินงานตามรายงาน EIA รวมทั้งติดตามการเยียวยาที่

               ชัดเจน





                                                           106
   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171