Page 165 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 165

สิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน ในการผลักดันการเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน เช่น กรณีของประมง

               (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing หรือ IUU) ซึ่งประเทศไทยได้มีการผลักดันเป็นวาระ
               สำคัญของประเทศและได้ทำให้ปัญหาเบาบางลงแล้ว


                       แต่ปัญหาที่ยังคงมีอยู่ คือ การผลักดันให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทานสำหรับกลุ่ม
               บุคคลที่มีความเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวแทนด้านการโฆษณาที่เป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้เกิดการละเมิด

               สิทธิ อาทิ เช่น บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการโฆษณาให้เกิดการเข้าใจผิด โดยทำการโฆษณา

               อวดอ้างสรรพคุณของสินค้า และไม่ตระหนักต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน มองเพียงว่าตนเองเป็นเพียงผู้ที่ถูก
               ว่าจ้าง ไม่มีความเกี่ยวพันที่จะต้องส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด ในความเห็นของคณะผู้วิจัยมอง

               ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่สำคัญ เพราะผลกระทบมักจะมีมูลค่าสูงเนื่องจากตัวแทนด้านการโฆษณาเป็นสิ่ง
               ผลักดันขยายยอดขายของธุรกิจ ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาอาจจะกระทำได้โดยไม่ยากนักหากมีการ

               กำหนดบทลงโทษที่เหมาะสม และมีการใช้กลไกเชิงบวกในการรณรงค์ผลักดันในเรื่องของธุรกิจและสิทธิ

               มนุษยชน

                       เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาที่สำคัญทั้ง 3 ข้อ จะพบว่ากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของ

               ภาครัฐที่ควรจะเป็น มีดังนี้

                       1. กลไกสนับสนุนการบังคับใช้ พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญาในภาคปฏิบัติ ได้แก่

                       1.1 การให้ความรู้กับเกษตรกรเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา เพื่อให้เกษตรกรเข้าใจและ

               ได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ฉบับนี้มากที่สุด

                       1.2 กลไกการสนับสนุนเกษตรกรในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับ

               ความเป็นธรรมในกระบวนการไกล่เกลี่ย

                       2. กลไกการพิจารณาความเหมาะสมของการบังคับใช้กฎระเบียบ กฎหมายตาม พระราชบัญญัติการ

               แข่งขันทางการค้า กับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสังคม เพื่อให้การพิจารณาบังคับใช้กฎหมายมีความเหมาะสม และ
               เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด


                       3. กลไกการพัฒนาปรับปรุง พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าให้มีความครอบคลุม และสามารถ
               รองรับรูปแบบการแทรกแซงการแข่งขันที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ได้


                       4. กลไกการศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เพื่อประเมินและหามาตรการรองรับการเข้ามาคุมตลาดของทุน
               จีน


                       5. การปรับปรุงกฎหมายให้มีบทลงโทษที่มีความเหมาะสมและรุนแรงมากยิ่งขึ้น และสนับสนุนการ
               สร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้ที่เสี่ยงที่จะกระทำความผิดภายใต้ห่วงโซ่อุปทาน ให้ตระหนักถึงว่าตนเองมีส่วน

               ร่วมในการละเมิดสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกัน

                       6. กลไกการประเมินคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเพื่อสร้างแรงจูงใจให้พิจารณาปัญหาการ

               ดำเนินการของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ

                                                           105
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170