Page 164 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 164

ปัญหาที่สอง การค้าที่ไม่เป็นธรรม พบว่ามีปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนหนึ่งเนื่องจากพระราชบัญญัติ

               การแข่งขันทางการค้าได้มีการปรับปรุงเป็นฉบับใหม่ โดยประเด็นที่สำคัญของปัญหาจะแบ่งออกได้เป็น 4
               ประเด็น คือ


                       1. การรักษาความเหมาะสมระหว่างกฎระเบียบ กฎหมายตาม พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า
               กับผลประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างแท้จริง โดยประเด็นนี้ต้องเข้าใจเสียก่อนว่า ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์

               ได้บอกว่าการแข่งขันจะนำไปสู่ประโยชน์ของประชาชนในระดับที่สูงที่สุด แต่ไม่ได้บอกว่าการไม่แข่งขันจะเป็น

               กรณีที่ประชาชนไม่ได้รับประโยชน์ในทุกกรณี การรักษาสภาพการแข่งขันโดยเอื้อให้กับธุรกิจรายย่อยที่มาก
               จนเกินไป อาจจะไม่ได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มเติม แต่เป็นการทำให้ธุรกิจขนาดใหญ่ได้รับภาระไม่สามารถที่

               จะสร้างสรรค์ผลประโยชน์ให้กับประชาชนได้อย่างดี การจำกัดการแข่งขันในบางกรณีก็อาจจะทำให้เกิดผลดี
               เช่น ธุรกิจสามารถที่จะต่อยอดพัฒนาคุณภาพสินค้า พัฒนาเทคโนโลยีทางการผลิต ทำให้ราคาสินค้าและ

               บริการถูกลงก็เป็นได้ แต่ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่ผูกขาดก็อาจจะไม่ได้นำไปสู่การพัฒนาใด ๆ ก็ได้

               เช่นเดียวกัน กล่าวโดยสรุป ผลของการไม่แข่งขันอาจจะไม่นำไปสู่กรณีที่เลวร้ายเสมอไป การคำนึงถึงความ
               เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายที่เน้นในสาระสำคัญของการแข่งขันจึงอาจจะไม่มีความเหมาะสมในบางกรณี

               ก็เป็นได้ ประเด็นนี้ถือเป็นประเด็นพื้นฐานที่สำคัญของการคุ้มครองสิทธิ

                       2. ปัญหาในเรื่องของนิยามของการกระทำความผิด พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า โดย

               กฎหมายของไทยจะมีลักษณะที่กำหนดรูปแบบความผิดในลักษณะที่จำกัด มากกว่าที่จะให้อำนาจแก่
               หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งในการพิจารณาว่ากิจกรรมในรูปแบบใดบ้างที่ถือว่าเป็นการกระทำความผิด ความ

               แตกต่างในจุดนี้จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่ พฤติกรรมการดำเนินธุรกิจสมัยใหม่บางประการอาจจะเล็ดลอดไม่ถูก

               พิจารณาว่าเป็นการกระทำความผิดแม้ว่าการกระทำดังกล่าวจะนำไปสู่การจำกัดการแข่งขันทางการค้า การ
               กำหนดนิยามให้มีความครอบคลุมถือเป็นหนึ่งในปัญหาพื้นฐานที่ควรจะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง


                       3. ปัญหาการเข้ามาคุมตลาดของทุนจีน เป็นประเด็นสำคัญในปัจจุบันและอนาคตที่กำลังจะมาถึง โดย
               ทุนจีนได้มีการเข้ามาทำธุรกิจแบบเบ็ดเสร็จ และในบางกรณีอาศัยทุนที่สูงกว่าในการทำลายการแข่งขัน และ

               นำไปสู่ระบบที่ผูกขาดในที่สุด ประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่ามีหลายประเทศเพื่อนบ้านของไทย และประเทศใน

               ทวีปแอฟริกาที่ได้รับผลกระทบ จนกระทั่งเกิดปัญหาข้อพิพาทระหว่างประเทศในหลาย ๆ กรณี เช่น กรณีการ
               เข้าไปคุมสวนกล้วยของธุรกิจจีน (ผู้จัดการออนไลน์, 12 กุมภาพันธ์ 2560) หรือการเข้าไปคุมธุรกิจกาสิโนใน

               กัมพูชาของกลุ่มทุนจีน (ผู้จัดการออนไลน์, 27 มกราคม 2562)

                       4. ปัญหาการตรวจสอบนโยบายภาครัฐ และการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจว่ามีการเคารพสิทธิในห่วง

               โซ่อุปทานมากน้อยเพียงใด โดยในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีการตรวจสอบโดยคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
               แต่การตรวจสอบนโยบายภาครัฐและการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเป็นหนึ่งในขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ

               คณะกรรมการที่จะเข้ามาตรวจสอบได้

                       ปัญหาที่สาม คือ การผลักดันให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่อุปทาน ในส่วนนี้จะเห็นความ

               พยายามเป็นอย่างมากของธุรกิจส่งออกขนาดใหญ่ของไทยที่ส่งออกไปยังประเทศปลายทางที่มีการคำนึงถึง


                                                           104
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169