Page 163 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 163
2. การแก้ไขกฎหมาย โดยมีกฎหมายที่ควรเร่งแก้ไข 2 ฉบับ ดังนี้
2.1 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มีบทบัญญัติที่เป็นการเลือกปฏิบัติ เช่น ให้เฉพาะผู้มี
สัญชาติไทยสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน มีบทกำหนดโทษอาญาสำหรับการ
นัดหยุดงาน
2.2 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มุ่งให้ความคุ้มครองลูกจ้างจากการถูกละเมิดโดย
นายจ้างเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงการถูกละเมิดโดยเพื่อนร่วมงาน เช่น มาตรา 16 ที่ห้ามการคุกคามทางเพศในที่
ทำงาน คุ้มครองเฉพาะกรณีนายจ้าง-ลูกจ้างเท่านั้น ไม่รวมการคุกคามระหว่างลูกจ้างด้วยกัน หรือบุคคลที่สาม
เช่น ลูกค้า หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว นายจ้างควรมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการทำให้
สภาพแวดล้อมการทำงานของลูกจ้างปลอดภัยจากการถูกละเมิดและคุกคามไม่ว่าจากบุคคลใด กฎหมาย
คุ้มครองแรงงานดังกล่าวจึงควรระบุให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างในการออกข้อบังคับในการทำงานว่าพฤติกรรมใด
ไม่ควรกระทำในที่ทำงาน และบทลงโทษขั้นสูงสุดหากมีการฝ่าฝืน เป็นต้น
นอกจากนี้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ควรมีการพิจารณาตรากฎหมายแยกตาม
ประเภทแรงงานที่ไม่ได้มีสภาพการทำงานแบบทั่วไปเพิ่มเติมจากแรงงานประมง และผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดย
การพิจารณาปรับแก้ไขนั้น ต้องมีการรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ทั้งแรงงาน และ
ผู้ประกอบการในกิจการทุกขนาด
3. การประสานการทำงานกับหน่วยงานและภาคส่วนอื่น รวมถึงต่างประเทศอย่างเป็นระบบ
โดยเฉพาะกรณีแรงงานข้ามชาติ ซึ่งมีกฎระเบียบในการเข้าเมือง หางาน และทำงานเพิ่มเติมจากแรงงานทั่วไป
ทำให้ต้องมีการประสานงานกับหน่วยงานในไทยและต่างประเทศในการให้ความคุ้มครอง เช่น กรณีการจ้าง
แรงงานข้ามชาติ หากมีการละเมิดแรงงานโดยนายหน้าต่างชาติ ก็ต้องมีการประสานกับประเทศต้นทางให้เอา
ผิดหรือติดตามผู้กระทำการละเมิด
4. จัดตั้งคณะทำงานประจำที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ นายจ้าง ลูกจ้าง และนักวิชาการที่
จะช่วยนำเสนอ พิจารณา และจัดทำข้อเสนอในการรองรับประเด็นปัญหาที่มีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อสภาพ
การทำงานในอนาคต
4.2.4 สิทธิสำหรับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน
ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบัน สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ปัญหาที่สำคัญ
คือ
ปัญหาที่หนึ่ง ปัญหาที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเกษตรพันธสัญญาฉบับใหม่ ซี่งเกิดขึ้นในกระบวนการไกล่เกลี่ย
ที่มักจะพบว่าการไกล่เกลี่ยยังมีความไม่เท่าเทียมในอำนาจการเจรจา โดยเกษตรกรมักจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ
และควรจะมีกลไกการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรในกระบวนการไกล่เกลี่ย ปัญหานี้เป็นปัญหาพื้นฐานที่สำคัญ
ที่จะทำให้กระบวนการเยียวยามีประสิทธิภาพ รวมทั้งยังมีส่วนช่วยปรามไม่ให้ธุรกิจกระทำการละเมิดสัญญา
103