Page 162 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 162
นอกจากนี้ ในส่วนของสัญญาจ้างเหมาค่าแรงที่นิยมจ้างในการทำธุรกิจสมัยใหม่ในปัจจุบัน แม้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2551 มาตรา 11/1 กำหนดหน้าที่ความ
รับผิดชอบให้นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างแรงงานกลุ่มรับจ้างเหมาค่าแรงกับแรงงานที่เป็นลูกจ้างประจำทั้งสอง
กลุ่มได้รับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ หากแต่งานวิจัยผลสำรวจลูกจ้าง
เหมาค่าแรงของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยได้ (2556) พบว่า ปัจจุบันยังมีการจ้างงานลูกจ้างเหมา
ค่าแรงกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อสอบถามลูกจ้างเหมาค่าแรงถึงข้อดีของการเป็นลูกจ้างผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรง
ส่วนใหญ่จะให้คำตอบว่าบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงช่วยให้ได้งานเร็ว ในทางตรงกันข้าม ข้อเสียของการเป็นลูกจ้าง
ผ่านบริษัทผู้รับเหมาค่าแรงที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ให้ตอบคือ การได้รับค่าจ้างและสวัสดิการน้อยกว่าลูกจ้างประจำ
มีความแตกต่างในการรับสวัสดิการในแง่รายได้อื่น ๆ เช่น ค่าทำงานล่วงเวลา ค่าทำงานเป็นกะ เบี้ยขยัน ค่า
ครองชีพ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน และสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น บริการรถรับ-ส่งพนักงาน เป็นต้น
ปัญหาที่ห้า คือ ปัญหาการบังคับคดีในกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง หรือเงินที่เป็นสิทธิของลูกจ้างตาม
กฎหมาย ลูกจ้างสามารถขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งจะไปเรียกเก็บจากนายจ้างในภายหลังได้ ซึ่ง
ประเด็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้น คือ บุริมสิทธิในค่าภาษีอากรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นบุริมสิทธิ
สามัญลำดับที่ 3 ตามมาตรา 253 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในกรณีที่มีบุริมสิทธิสามัญหลายราย
แย้งกัน บุริมสิทธิสามัญในลำดับต้นย่อมได้รับการชำระหนี้ก่อน ตามหลักในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ มากไปกว่านั้น ในกรณีที่มีเจ้าหนี้ซึ่งทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นบุริมสิทธิพิเศษ
เจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิพิเศษย่อมได้รับชำระหนี้ก่อน ดังนั้น ในกรณีที่กองทรัพย์สินของนายจ้างมีไม่เพียงพอต่อ
การชำระหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ ลูกจ้างหรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างอาจไม่ได้รับชำระหนี้
เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาที่สำคัญข้างต้นจะพบว่ากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิแรงงานของ
ภาครัฐที่ควรจะเป็น มีดังนี้
1. เพิ่มกลไกการบังคับใช้กฎหมาย เช่น จำนวนพนักงานตรวจแรงงาน โดยอาจแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐอื่น
ให้สามารถทำหน้าที่พนักงานตรวจแรงงานโดยมีค่าตอบแทนพิเศษตามสมควร หรือนับเป็นผลงานในหน่วยงาน
ที่สังกัดได้ อนึ่ง ควรตั้งเกณฑ์การตรวจต่อปีไว้ด้วย หากพนักงานตรวจแรงงานตรวจได้เกินเกณฑ์ก็ควรให้
ค่าตอบแทนพิเศษนี้เช่นกัน
อีกกลไกหนึ่ง คือ สหภาพแรงงาน ที่ควรได้รับการสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งและสามารถเป็นตัวแทน
แรงงานทุกกลุ่มได้ ผ่านการมีคณะกรรมการหรือผู้นำที่มาจากแรงงานหลากหลายกลุ่ม เช่น แรงงานหญิง
แรงงานข้ามชาติ เป็นต้น
ในการนี้ ประเทศไทยควรพิจารณาให้สัตยาบันและปฏิบัติตามอนุสัญญาพื้นฐานของ ILO คือ
อนุสัญญาว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว (Freedom of Association and
Protection of the Right to Organise Convention, 1948, No. 87 หรือ C087) และอนุสัญญาว่าด้วย
สิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง (Right to Organise and Collective Bargaining Convention, 1949, No.
98 หรือ C098)
102