Page 160 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 160
ระหว่างลูกจ้างด้วยกัน ซึ่งจะเป็นปัญหากรณีลูกจ้างไทย กับแรงงานข้ามชาติ และแรงงานหญิง กับแรงงานชาย
ซึ่งความสัมพันธ์เชิงอำนาจในสังคมไม่เท่ากัน นอกจากนี้ ยังไม่ให้ความคุ้มครองการคุกคามโดยบุคคลที่สาม
เช่น ลูกค้า หรือเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งบางกรณีนายจ้างอาจบังคับให้ลูกจ้างยอมเพื่อแลกกับผลประโยชน์
ปัญหาที่สาม คือ การหาจุดสมดุลย์ระหว่างการคุ้มครองสิทธิแรงงาน กับการส่งเสริมการประกอบ
ธุรกิจ ซึ่งในอนาคตจะมีแนวโน้มปัญหาที่เกี่ยวข้องกับแรงงานที่สืบเนื่องจากการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่
เทคโนโลยีใหม่ และความไม่แน่นอนของตลาดและเศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลต่อการปรับตัวของรัฐบาล
ผู้ประกอบการ และแรงงาน เช่น การถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากการใช้เครื่องจักร การเลิกกิจการหรือย้ายฐาน
การผลิตเพราะผลจากสงครามการค้า หรือการทำงานรูปแบบใหม่ เช่น ทำงานผ่าน platform ซึ่งอาจทำให้
สถานะการจ้างงานไม่ชัดเจน แนวโน้มปัญหาในอนาคตเหล่านี้ไม่สามารถออกกฎหมายมาป้องกันไว้ก่อนได้
เพราะการออกกฎหมายต้องมีหลักฐานชัดเจนเชิงประจักษ์ว่าถ้าไม่มีการควบคุมกำกับจะเกิดผลกระทบในทาง
เสียหาย
ปัญหาที่สี่ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานของรัฐ กรณีที่หน่วยงานของ
รัฐทำ “สัญญาจ้างเหมาบริการ” กับบุคคลภายนอก มีปัญหาว่าบุคคลภายนอกจะได้รับความคุ้มครองจาก
กองทุนประกันสังคมหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้สัญญาจะระบุชื่อไว้ว่าเป็นสัญญาจ้างเหมาบริการ
และระบุเรียกคู่สัญญาว่า ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างก็ตาม แต่นิติสัมพันธ์ของคู่สัญญาต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกิดขึ้นเป็นกรณีไป ในกรณีที่สภาพการจ้างมีลักษณะเป็นการจ้างแรงงานตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 นิติสัมพันธ์ย่อมเป็นในลักษณะของนายจ้างและลูกจ้างตามนิยามของ
มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 การที่หน่วยงานของรัฐไม่ขึ้นทะเบียนลูกจ้างเพื่อสิทธิ
66
ประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และอาจกล่าวได้ว่า
สัญญาจ้างเหมาบริการของหน่วยงานของรัฐในบางลักษณะอาจเป็นสัญญาจ้างทำของอำพรางสัญญาจ้าง
67
แรงงานเพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
ทั้งนี้ อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับลูกจ้างชั่วคราวของหน่วยงานของรัฐ คือ ปัญหาการเลิกจ้างก่อน
ครบระยะเวลาการจ้าง กรณีที่หน่วยงานของรัฐทำสัญญาจ้างลูกจ้างชั่วคราวเนื่องจากกรอบอัตรากำลังที่มีใน
ขณะนั้นไม่เพียงพอ นำสู่ปัญหาว่าหากต่อมาหน่วยงานของรัฐได้รับการจัดสรรกรอบอัตรากำลังเพิ่มเติมจะทำ
ให้สัญญาจ้างพนักงานราชการผู้อื่นมาแทนที่ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว และเลิกจ้างลูกจ้างชั่วคราวก่อนครบ
ระยะเวลาการจ้างเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การเลิกจ้างลูกจ้าง
ชั่วคราวเป็นดุลพินิจของส่วนราชการที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมและเป็นธรรมตามหลักเกณฑ์และวิธี
ปฏิบัติ นอกจากนี้สัญญาจ้างที่กำหนดให้สัญญาสิ้นสุดลงเมื่อผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อมีการยุบหรือเลิก
ตำแหน่งหรือยุบส่วนงาน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของอัตราตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราวเป็นอัตรา
ตำแหน่งพนักงานราชการตามกรอบอัตรากำลังที่กำหนด มีผลเป็นการเลิกตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว การที่
66 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 349/2556.
67 คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 531/2557.
100