Page 159 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 159

2.2 การสร้างมาตรฐานเพื่อประเมินธุรกิจว่าได้มีการดำเนินการตามข้อ 2.1 มากน้อยเพียงใด

                       3. กลไกการหนุนเสริมการลงทุนทางเลือกเพื่อคุ้มครองนักลงทุนทางอ้อม โดยสนับสนุนให้ลงทุนผ่านผู้

               ลงทุนที่มีความชำนาญการ ทำเป็นอาชีพ ซึ่งผู้ลงทุนดังกล่าว ในกรณีของประเทศไทย จะถูกกำกับดูแลตาม

               มาตรฐานวิชาชีพซึ่งเป็นมาตรฐานสากล

                       4. กลไกการให้ความรู้และช่วยตรวจสอบการลงทุนสำหรับการลงทุนในธุรกิจสมัยใหม่ และการลงทุน

               ที่มีลักษณะแชร์ลูกโซ่ ประกอบด้วย

                       4.1 เพิ่มนิยามของเขตของการลงทุนในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมกิจกรรม

               ที่เกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น

                       4.2 การวางมาตรฐานและกฎระเบียบต่าง ๆ ในการดูแลสิทธิผู้ถือหุ้นในกรณีของการลงทุนในธุรกิจ

               สมัยใหม่

                       5. กลไกการเยียวยาผ่านการสร้างกองทุนคุ้มครองผู้ลงทุน เพื่อที่จะให้ผู้ลงทุนได้รับการเยียวยาความ

               เสียหายที่เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น

                       6. กลไกการฟ้องแทน หมายถึง การที่ภาครัฐมีหน้าที่ในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการถูก

               ละเมิดสิทธิมนุษยชน จึงอาจจะมีความเหมาะสมถ้าภาครัฐจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่ได้รับความ
               เสียหาย ในการที่จะสั่งฟ้องคดีแบบกลุ่ม (class action) ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกิดความสะดวก รวดเร็วมาก

               ยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมจากการถูกละเมิดสิทธิอีกด้วย




                       4.2.3 สิทธิแรงงาน
                       ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิแรงงานสามารถสรุปได้เป็น 5 ประเด็นปัญหาที่สำคัญ ดังนี้


                       ปัญหาที่หนึ่ง คือ การละเมิดสิทธิแรงงานด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน
               ค่าตอบแทน ค่าชดเชย ความปลอดภัยในที่ทำงาน  ซึ่งสาเหตุสำคัญอาจเป็นเพราะกลไกในการบังคับใช้

               กฎหมายไม่เพียงพอ เช่น จำนวนพนักงงานตรวจแรงงานที่มีทั่วประเทศเพียงประมาณ 770 กว่าคน แต่จำนวน

               แรงงานทั่วประเทศมีมากถึงประมาณ 38 ล้านคน และสถานประกอบการอีกจำนวนมาก จึงอาจทำให้ไม่
               สามารถให้ความคุ้มครองได้ทั่วถึง นอกจากนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ประกอบการและแรงงานไม่มีข้อมูล

               หรือความเข้าใจที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะโยงกับประเด็นปัญหาต่อไป

                       ปัญหาที่สอง คือ กฎหมายบางฉบับยังมีขอบเขตการบังคับใช้ที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการจ้างงานและ

               ทำงานในปัจจุบัน เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ใช้บังคับกับแรงงานทั่วไป แม้จะมี

               ข้อยกเว้นบังคับใช้แก่แรงงานบางประเภท แต่มีความเป็นไปได้ที่ยังมีแรงงานในอุตสาหกรรมหรือประเภท
               กิจการอื่นที่ไม่สามารถบังคับใช้ได้ โดยเฉพาะกับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อาจไม่สามารถ

               ปฏิบัติตามได้ หรือประเด็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง
               แรงงาน พ.ศ. 2541 คุ้มครองเฉพาะกรณีการคุกคามทางเพศโดยนายจ้างต่อลูกจ้างทั้งนั้น ไม่รวมการคุกคาม

                                                            99
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164