Page 158 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 158

ลงทุนสมัยใหม่ถูกพิจารณาว่าเริ่มมีปัญหามากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปัญหายังจำกัดอยู่ที่วงแคบตามจำนวนผู้ลงทุนที่ยัง

               มีจำนวนไม่มากนัก แต่ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญในอนาคตที่ควรจะพิจารณา

                       ปัญหาที่ห้า คือ ปัญหาการขาดความชัดเจนในเรื่องของแนวปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเคารพสิทธิผู้ถือหุ้น

               ในทุกมิติ เป็นปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นเนื่องจากธุรกิจอาจจะไม่มีต้นแบบว่าการดำเนินกิจการที่เคารพสิทธิของผู้
               ถือหุ้นอย่างแท้จริงจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง จึงอาจจะไม่ได้ดำเนินการอย่างครบถ้วนแม้ว่าธุรกิจจะมี

               เจตนาที่จะเคารพของผู้ถือหุ้นก็ตาม ประเด็นปัญหานี้สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นปัญหาพื้นฐานที่ควรจะต้อง

               ได้รับการดูแลแก้ไข

                       ปัญหาที่หก เกิดขึ้นกับกระบวนการเยียวยาเมื่อผู้เสียหายได้รับผลกระทบ โดยในปัจจุบัน ผู้ที่ถูกละเมิด

               สิทธิยังคงต้องดำเนินการฟ้องด้วยตนเองทางแพ่ง ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานาน และในหลายกรณีไม่ได้รับความเป็น
               ธรรม อาทิ เช่น เกิดปัญหาการเก็บรวบรวมหลักฐานข้อมูลไม่ทันทำให้ไม่สามารถที่จะฟ้องทันอายุความ เกิด

               ปัญหาผู้ที่เป็นจำเลยหนีคดีไปต่างประเทศ ปัญหาการพิจารณาคดีที่ยาวนานจนทำให้จำเลยเสียชีวิตก่อนที่จะมี
               การจ่ายค่าเสียหาย เป็นต้น


                       ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าปัญหาสิทธิของผู้ถือหุ้นสำหรับธุรกิจที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ได้ถูกพิจารณา
               ว่าไม่ได้เป็นประเด็นปัญหา เนื่องจากการลงทุนในธุรกิจนอกตลาดหลักทรัพย์จะเป็นการลงทุนที่อาศัย

               ความสัมพันธ์แบบไม่เป็นระบบ (informal connection) ซึ่งทำให้การวางกฎระเบียบเข้าไปแทรกแซงอาจจะ

               เป็นสิ่งที่ขัดต่อธรรมชาติของการทำธุรกิจ และเนื่องจากผู้ถือหุ้นต่างก็ต้องเข้ามารับความเสี่ยงและผลได้ของ
               การดำเนินธุรกิจด้วยตนเองอยู่แล้ว จึงเป็นหน้าที่ของนักลงทุนนอกตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องศึกษาหาข้อมูล

               ด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ก่อนที่จะตัดสินใจ โดยประเด็นที่อาจจะเป็นปัญหาอาจจะมีเพียงกรณีของการ
               หลอกลวงดำเนินธุรกิจในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ ที่เป็นการหลอกลวงว่าจะดำเนินธุรกิจแต่ไม่ได้มีกิจกรรมทาง

               ธุรกิจอย่างแท้จริง ซึ่งอยู่ในประเด็นปัญหาที่สามข้างต้น

                       เมื่อพิจารณาประเด็นปัญหาที่สำคัญทั้ง 5 ข้อ จะพบว่ากลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนของ

               ภาครัฐที่ควรจะเป็น มีดังนี้

                       1. กลไกการควบคุมโดยตรงผ่านการบังคับใช้กฎหมาย หมายถึง การปรับกฎหมายกฎระเบียบเพื่อให้

               เกิดความเกรงกลัวต่อกฎหมายที่จะกระทำผิด ดังนี้

                       1.1 การเพิ่มโทษปรับแพ่ง


                       1.2 การเพิ่มโทษทางอาญาสำหรับบางกรณีที่เป็นความผิดอย่างจงใจและเจตนาให้เกิดความเสียหาย
               เช่น การปั่นหุ้น


                       2. กลไกการควบคุมทางอ้อมผ่านหลักปฏิบัติที่ดี หมายถึง การปรับมาตรฐานของธุรกิจให้มีความช้ด
               เจนมากขึ้นในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยแยกสิทธิของผู้ถือหุ้นออกมาเป็นอีกหนึ่งหมวดอย่างชัดเจน ดังนี้


                       2.1 การสร้างต้นแบบ Shareholder due diligence เพื่อสร้างความชัดเจนถึงแนวทางปฏิบัติที่ดี
               สำหรับการเคารพผู้ถือหุ้นอย่างรอบด้าน


                                                            98
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163