Page 157 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 157

3. ภาครัฐควรที่จะมีกลไกในการดูแลติดตามให้การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ มีการ

               คำนึงถึงมิติทางด้านสิทธิมนุษยชนและไม่ได้มีการละเมิดสิทธิเกินจำเป็น ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่ช่วยในการ

               คุ้มครองมิให้ภาครัฐเองเป็นผู้ละเมิดสิทธิผ่านการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฎหมายใด ๆ อย่างเกินความ

               สมเหตุสมผล

                       4. ควรมีหน่วยงานที่พิจารณาความเหมาะสมในการตีความข้อจำกัดและข้อยกเว้นเรื่องสิทธิแห่ง

               รัฐธรรมนูญในมาตรา 25 และ 26 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในภาคปฏิบัติ





                       4.2.2 สิทธิผู้ถือหุ้น
                       ประเด็นปัญหาในส่วนของสิทธิผู้ถือหุ้น สามารถสรุปได้ดังนี้


                       ประเด็นปัญหาแรก คือ ปัญหาการอาศัยข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือ ข้อมูลลวง เพื่อแสวงหา
               ผลประโยชน์จากผู้ถือหุ้น เป็นปัญหาที่ถูกพิจารณาว่าสำคัญเนื่องจากเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย และบางครั้ง

               ความเสียหายจะเกิดขึ้นในวงกว้าง (โดยพิจารณาจากจำนวนนักลงทุนที่ได้รับผลกระทบ) ซึ่งเกิดขึ้นได้หลาย
               ลักษณะ เช่น การปกปิดข้อมูลไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด การจงใจบิดเบือนข้อมูลฐานะการเงินของธุรกิจ การ

               อาศัยข้อมูลภายในเพื่อความได้เปรียบในการซื้อขายหุ้น ตลอดจน การปล่อยข่าวลือต่าง ๆ เพื่อปั่นราคาหุ้นให้

               แตกต่างไปจากราคาพื้นฐานที่ควรจะเป็น

                       ปัญหาที่สอง คือ ปัญหานักลงทุนรายย่อยมีสัดส่วนการลงทุนในระดับสูงเมื่อเทียบกับนักลงทุนกลุ่ม

               กองทุน ประเด็นนี้เป็นประเด็นปัญหาพื้นฐานที่นำไปสู่ความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดของผู้ถือหุ้น เนื่องจากนักลงทุน
               รายย่อยมักจะมีเวลาและความชำนาญการในการลงทุนที่น้อยกว่าผู้ที่ทำงานมืออาชีพ เช่น ผู้บริหารกองทุนหุ้น

               ดังนั้น การที่สัดส่วนการลงทุนของไทยในตลาดหุ้นยังดำเนินการอยู่ภายใต้การดูแลของนักลงทุนรายย่อย หรือก็
               คือนักลงทุนดูแลด้วยตนเองจึงสะท้อนความเสี่ยงที่จะถูกละเมิดสิทธิผู้ถือหุ้นที่มากขึ้น


                       ปัญหาที่สาม คือ ปัญหาการโกงในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ เป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่โดยพิจารณาจาก
               ความเสียหายทางตัวเงินที่เกิดขึ้นและจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการลงทุนที่ไม่ได้มี

               กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แท้จริง แต่เป็นการต่อยอดเอาเงินของผู้ที่ลงทุนไปจ่ายยังผู้ลงทุนก่อนหน้าจนกระทั่งไม่

               มีผู้ลงทุนรายใหม่เข้ามาลงทุนจึงเกิดการผิดนัดชำระหนี้ และกลายเป็นการลงทุนที่สูญเสียสำหรับผู้ที่ลงทุน
               ตามมาที่หลัง ซึ่งมักจะมีจำนวนมากในลักษณะของการเป็นฐานปิระมิดที่จ่ายให้กับคนก่อน ๆ ด้านบน


                       ปัญหาที่สี่ คือ ปัญหาความซับซ้อนของการลงทุนสมัยใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นการโกงใน
               ลักษณะของแชร์ลูกโซ่ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะเป็นกรณีที่มีการลงทุนเกิดขึ้นอย่างแท้จริง แต่รูปแบบการ

               ลงทุนมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และเป็นธุรกิจสมัยใหม่ที่เข้าใจได้ยาก แม้กระทั่งกลไกการกำกับดูแลก็ยังไม่มี

               ความชัดเจน อาทิ เช่น การลงทุนในสกุลเงิน Cryptocurrency (Initial Coin Offering) การลงทุนผ่านระบบ
               คราวด์ฟันดิง (crowdfunding) การลงทุนในรูปแบบคราวด์ซอสซิ่ง (crowdsourcing) เป็นต้น ปัญหาของการ




                                                            97
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162