Page 155 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 155

ร่วม การสร้างงานหรือการแบ่งปัน
                                                                            ผลประโยชน์




               4.2 ช่องว่างและกลไกการคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจของภาครัฐที่

               ควรจะเป็น

                       ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายถึงประเด็นปัญหาที่สำคัญของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2560 และปัญหาของแต่ละสิทธิ และวิเคราะห์เชื่อมโยงไปถึงกลไกของภาครัฐที่ควรจะเป็น ซึ่งมี

               รายละเอียด ดังนี้

                       4.2.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

                       ช่องว่างในการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนและการประกอบธุรกิจ สามารถที่จะสรุปได้ดังนี้


                       ช่องว่างกลุ่มแรก เป็นช่องว่างที่เกิดขึ้นจากขอบเขตอำนาจการบังคับใช้ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้ความ

               คุ้มครองเฉพาะคนไทยที่อยู่ในประเทศไทยเป็นสำคัญ จึงส่งผลทำให้


                       1. ขอบเขตการครอบคลุมไม่ถึงคนต่างด้าวที่ทำงานในไทย โดยคนต่างด้าวที่ทำงานในไทยจะได้รับการ

               คุ้มครองเฉพาะที่มีบทบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายที่ชัดเจนเท่านั้น อาทิ เช่น กฎหมายแรงงานที่ไม่มีการเลือก

               ปฏิบัติระหว่างแรงงานไทยและแรงงานต่างด้าว

                       2. ขอบเขตเชิงพื้นที่จะไม่มีอำนาจบังคับใช้นอกราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิใน

               ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจได้ใน 2 รูปแบบ คือ ธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศมีการละเมิดสิทธิ

               มนุษยชนในต่างประเทศ และ คนไทยที่ทำงานอยู่ต่างประเทศถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนภายใต้กฎระเบียบ ข้อ

               กฎหมาย หรือข้อกำหนดต่างประเทศ ซึ่งทั้งสองกรณี กลไกการคุ้มครองจะขึ้นอยู่กับกฎหมายของต่างประเทศ

               ในการคุ้มครองสิทธิ หากต่างประเทศมีกลไกการคุ้มครองที่ค่อนข้างเข้มแข็ง เช่นในกรณีของกลุ่มประเทศที่

               พัฒนาแล้ว ก็อาจจะมีปัญหาไม่มากนัก อาจจะมีปัญหาการเลือกปฏิบัติระหว่างแรงงานท้องถิ่นกับแรงงานต่าง
               ด้าวที่รวมคนไทยเข้าไป หรือมีปัญหาการเข้าไม่ถึงกลไกการคุ้มครองช่วยเหลือ เนื่องจากปัญหาอุปสรรค

               ทางด้านภาษา หรือมีการลักลอบเข้าไปทำงานแบบผิดกฎหมาย แต่ในกรณีของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา

               หรือด้อยพัฒนาอาจจะมีปัญหาที่มากขึ้น เนื่องจากกลไกการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนมีอยู่อย่างจำกัด และ

               ธุรกิจโดยมากมักจะเลือกดำเนินการภายใต้ขอบเขตการคุ้มครองที่จำกัดนั้น ๆ


                       ช่องว่างในกลุ่มที่สอง เกิดขึ้นจากสาระสำคัญของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 25 และ
               มาตรา 26 ซึ่งมีประเด็นช่องว่างที่สำคัญ ดังนี้


                       1. แม้ว่าการกำหนดสิทธิในรูปแบบของข้อจำกัด (negative list) จะทำให้สิทธิที่ไม่ถูกระงับทั้งหมด

               ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย แต่การที่ไม่ระบุสิทธิเอาไว้อย่างชัดเจนก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาในแง่ปฏิบัติ


                                                            95
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160