Page 156 - รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง การประเมินข้อมูลพื้นฐานระดับชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน : นโยบาย กฎหมาย และมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของประเทศ
P. 156

โดยในประการแรก สิทธิที่ได้รับความคุ้มครองจะไม่มีความชัดเจน และอาจจะทำให้ประชาชนไม่แน่ใจว่าตนเอง

               ได้รับการคุ้มครองในประเด็นใดบ้าง รวมทั้งอาจจะทำให้ประชาชนถูกละเมิดสิทธิจากความไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิ

               ได้ ประการที่สอง การไม่ระบุสิทธิอย่างชัดเจนยังทำให้ประชาชน รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐเองต่างก็ไม่แน่ใจ

               และไม่ทราบว่าหน่วยงานใดที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิดังกล่าว จนอาจจะทำให้สิทธิบางประการไม่ได้รับ
               การคุ้มครองในภาคปฏิบัติอันเนื่องมาจากการที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐที่เป็นเจ้าภาพให้การดูแลรับผิดชอบก็

               เป็นได้


                       2. ตามมาตรา 26 มีการบัญญัติให้ข้อบัญญัติที่จำกัดสิทธิของประชาชนองมีการระบุเหตุผลความ

               จำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพนั้นไว้ด้วย ซึ่งในภาคปฏิบัติไม่พบว่าภาครัฐได้มีการคำนึงถึงประเด็น

               ทางด้านสิทธิมนุษยชนและไม่ได้มีการดำเนินการระบุเหตุผลที่ชัดเจนเมื่อมีการออกข้อบัญญัติใหม่ ๆ ออกมา

                       3. มาตรา 25 และ 26 ได้มีข้อความบัญญัติที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิ 2 ข้อความ คือ

               สิทธิบางประการจะถูกระงับแม้ว่าจะไม่ได้ถูกระบุไว้ตามกฎระเบียบ ข้อกฎหมาย หรือข้อกำหนดต่าง ๆ หาก

               สิทธิดังกล่าวกระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ หรือส่งผลเสียต่อความสงบเรียบร้อยหรือ

               ศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น และข้อบัญญัติที่จำกัด

               สิทธิของประชาชน จะต้องไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม ไม่เพิ่มภาระหรือจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างเกิน

               เหตุสมควร หรือกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล ทั้งสองข้อความมีส่วนสำคัญอย่างมากในการ
               กำหนดสิทธิที่ประชาชนพึงมี อย่างไรก็ดี ข้อความดังกล่าวยังมีปัญหาความไม่ชัดเจนในแง่ของภาคปฏิบัติ เช่น

               อะไรคือสิทธิที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความมั่นคงของรัฐ หรือ อะไรที่ถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิอย่างเกินเหตุสมควร จึง

               เป็นช่องว่างที่อาจจะนำมาสู่ปัญหาการตีความเรื่องสิทธิที่พึงมีของประชาชนได้ อีกทั้งการออกบทบัญญัติต่าง ๆ

               ยังไม่ได้มีการระบุเหตุผลของการจำกัดสิทธิที่ชัดเจน จึงทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิของประชาชนโดยการ

               ออกกฎหมายได้มากยิ่งขึ้น


                       เพื่อแก้ไขประเด็นปัญหาข้างต้น กลไกที่ควรจะเป็น มีดังนี้

                       1. ควรมีหน่วยงานที่ช่วยดูแลสิทธิในกรณีที่อยู่นอกเหนือขอบเขตอำนาจบังคับของรัฐธรรมนูญ เพื่อให้

               แน่ใจว่าคนไทยที่อยู่ต่างประเทศและคนต่างด้าวที่อยู่ในไทยจะได้รับการคุ้มครองเรื่องสิทธิในประเด็นที่

               เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ และการลงทุนของธุรกิจไทยในต่างประเทศควรที่จะมีองค์กรที่กำกับดูแลให้มีการ

               เคารพสิทธิมนุษยชน


                       2. รัฐธรรมนูญควรจะกำหนดสิทธิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมและครบถ้วน

               ตามหลักสากล เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงสิทธิที่ตนเองมีอย่างชัดเจน และทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของ
               หน่วยงานภาครัฐที่ทำหน้าที่ดูแลในสิทธิต่าง ๆ






                                                            96
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161